ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก
โพสต์ล่าสุด

Non participative หรือ Non-Par (การวิจัยแบบไม่มีส่วนร่วม)

การวิจัย/สังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม หรือ  Non Par (ticipative)      " การวิจัยแบบไม่มีส่วนร่วม   หรือ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม   เป็น กระบวน การที่ใช้เทคนิคในการสังเกตการณ์จากภายนอก"  หรือ ......ที่ภาษาทางการวิจัยหมายถึงการที่ตัวผู้วิจัยนั้นไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับแหล่งข้อมูลนั้นๆอาทิเช่น กิจกรรมทางสังคม ประเพณี การประชุม ฯลฯ  ทั้งนี้.....  อาจเป็นความต้องการทำให้ข้อมูลนั้นปราศจาก..... 1) การปรุงแต่งจากปัจจัยภายนอก  2) เพื่อไม่ให้กลุ่มข้อมูลนั้นรู้ตัว 3) ให้ได้ข้อมูลในลักษณะที่มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด 4) ไร้การเจือปนของการรู้สึก  5) ไร้การปรุงแต่งข้อมูล จึงทำให้ตัวผู้วิจัยนั้นต้องปฏิบัติดั่งเช่นบุคคลภายนอกให้มากที่สุด เเละนั่นทำให้.. ." การวิจัยแบบไม่มีส่วนร่วมหรือสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ( Non Participative Observation) มีเทคนิคในการเก็บข้อมูลที่ตรงกันข้ามกับเทคนิค การสังเกตการณ์หรือการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (PAR)" เเละความตรงกันข้ามของ Non-Par เเละ Par ที่แตกต่างจึงได้มาซึ่งการสรุป ดังนี้ ข้อมูล ที่แตกต่างไปด้วยความจริงแท้ของข้อมูล ความจริงของปราก

การวิจารณ์ เเละ โครงสร้าง

การวิจารณ์เเละโครงสร้าง       หลักในการวิเคราะห์หรือวิจารณ์ที่เกี่ยวข้องกับเชิงสัญญะวิทยา (Semiology) มีกลวิธีปฏิบัติแตกต่างไปจากงานวิจัยทั่วไปที่ต้องมีขั้นตอนในกระบวนการสร้างแนวคิดจากระดับมหภาคไปสู่ระดับจุลภาค      ทั้งนีั้......เพื่อสร้างกรอบแนวความคิดในการวิเคราะห์/วิจารณ์ที่มีพื้นฐานมาจากส่วนประกอบต่างๆของเป้าหมายการวิเคราะห์ ดังนี้      การวิจารณ์ / การวิเคราะห์เนื้อหา      พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545) กล่าวว่า การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เน้นที่ตัวเนื้อหา หรือ “สาร” เป็นหลัก เนื่องจากในตัวสารจะมีข้อความสำคัญที่สื่อมวลชนต้องการจะสื่อไปยังผู้รับสาร ได้แยกส่วนประกอบในการวิเคราะห์เนื้อหาออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่      1) คำคำแต่ละคำ หรือศัพท์แต่ละศัพท์ถือเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในเนื้อหา การนับแล้วบันทึกจำนวนคำปรากฏบ่อยๆในเนื้อหาจะทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของสื่อมวลชนในการส่งสารนั้นไปยังผู้ชมได้      2) อรรถบท หรือแก่นความคิดหลัก หมายถึงประเด็นของเรื่องหรือจุดมุ่งหมายของสารนั้นๆ อาจจะมีอรรถบทเดียวหรือหลายอรรถบทก็ได้ในการจดบันทึกอรรถบทที่ปรากฏนั้นยากกว่าการบันทึกคำ เพราะอรรถบทไม

public policy หรือ ทฤษฎีนโยบายสาธารณะ (Thomas R. Dye, โธมัส อาร์.ดาย)

ทฤษฎีนโยบายสาธารณะ หรือ P ublic policy มีความหมายโดยรวมที่กล่าวถึงแนวทางของกิจกรรม โครงการหรือกฏเกณฑ์ที่ใช้เป็นรูปแบบข้อบังคับเพื่อให้ผู้คนในสังคมปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน 1.ตัวแบบสถาบัน ( Institutional Model)       โธมัส อาร์.ดาย มองว่านโยบายเป็นผลผลิตของสถาบันหมายความว่านโยบายสาธารณะถูกกำหนดขึ้นจากสถาบันหลักของรัฐผู้วิเคราะห์ต้องทำความเข้าใจว่าในประเทศนั้นๆมีสถาบันใด บ้างเป็นสถาบันหลักสถาบันเหล่านี้มีหน้าที่อย่างไร ตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกาที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดีสถาบันสำคัญมีสามฝ่ายคือฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ การศึกษาจากตัวแบบนี้จะดูว่าสถาบันของทั้งสามฝ่ายมีบทบาทเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะอย่างไรมีการตรวจสอบถ่วงดุลกันอย่างไรการนำตัวแบบสถาบันไปวิเคราะห์นโยบายสาธารณะใดก็ตามต้องหาคำตอบให้ได้ว่านโยบายนั้นมีสถาบันใดเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดนโยบายสถาบันใดรับผิดชอบนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติสถาบันใดทำหน้าที่บังคับใช้นโยบายในสังคมเช่นสภาผู้แทนราษฎรออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหน่วยงานที่รับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติคือกรมการขนส่งกรมการประกันภัย หน่วยงานที่บังคับใ