ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2011

TQM คืออะไร

TQM (Total Quality management) เป็นแนวคิดที่ว่าคุณภาพของสินค้าและกระบวนการต่างๆเป็นความรับผิดชอบของทุกคนที่เกี่ยวข้องใน การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ทุกคนที่ว่ารวมถึง การจัดการ แรงงาน ซัพพลายเออร์ และลูกค้าด้วย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้ตรงจุดหรือเกินความคาดหมายแบบจำลองความสัมพันธ์ของ TQM แสดงให้เห็นว่า TQM ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ 1.  การให้ความสำคัญกับลูกค้า ( Customer Oriented)   คือ   การมุ่งเน้นคุณภาพที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้การตอบสนองความต้องการของลูกค้าต้องทำการวิจัยตลาดให้รู้ก่อนว่า ลูกค้าต้องการอะไร แล้วยึดเอาความต้องการนั้นเป็นศูนย์กลางในการบริหารและดำเนินการขององค์การต่อไป 2.  การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ( Continuous Improvement )   คือ   ปรับปรุงกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบวงจรอย่างต่อ เนื่อง โดยเอาใจใส่ลูกค้าภายใน ( Internal Customer) ตลอดจนถึงลูกค้าภายนอก ( External Customer) กล่าวคือพนักงานทุกคนต้องถือว่ากระบวนการผลิตถัดไปเป็นลูกค้าภายในที่มีความ ต้องการชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)

การวิเคราะห์สวอต การวิเคราะห์สวอต ( อังกฤษ : SWOT Analysis ) คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพ หรือ การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ สำหรับองค์กร หรือโครงการ ซึ่งช่วย ผู้บริหาร กำหนด จุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน โอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบที่มีศักยภาพจากปัจจัยเหล่านี้ต่อการทำงานของ องค์กร เทคนิคนี้ อัลเบิร์ต ฮัมฟรี (Albert Humphrey) ได้ชื่อว่าเป็นผู้เริ่มแนวคิดนี้โดยนำเทคนิคนี้มาแสดงในงานสัมมนาที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด คำว่า "สวอต" หรือ "SWOT" นั้นมาจากตัวย่อภาษาอังกฤษ 4 ตัว ได้แก่ S มาจาก Strengths หมายถึง จุดเด่นหรือจุดแข็ง ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายใน บริษัท เช่น จุดแข็งด้านส่วนประสม จุดแข็งด้าน การเงิน จุดแข็งด้าน การผลิต จุดแข็งด้าน ทรัพยากรบุคคล บริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์ การตลาด W มาจาก Weaknesses หมายถึง จุดด้อยหรือจุดอ่อน ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท ซึ่งบร

ความเชื่อมโยงของงานวิจัยแต่ละบท

บทที่ ๑   ต้องเริ่มจาก ประเด็นปัญหา อันมีที่มาหลากหลาย ได้แก่       ๑.ข้อคับข้องใจ       ๒.ข้อสงสัย       ๓.ข้อสังเกตที่เห็นว่าปรากฏการณ์นั้นผิดแปลกไป       ๔.ข้อกังวล       ๕.ความอยากรู้       ๖.ปัญหาที่ต้องการแสวงหาแนวทางการแก้ไข ฯลฯ อีกทั้งแหล่งที่มาของปัญหาอาจมาจาก       ๑.สถานที่ทำงาน       ๒.สถานที่อยู่อาศัย       ๓.ประเด็นความสนใจทางสังคม       ๔.สื่อมวลชน       ๕.บุคคลใกล้ชิด             จากประเด็นเหล่านี้ก็จะนำมาพัฒนาเรียบเรียงเป็น ที่มาและความสำคัญของปัญหา โดยบางสถานศึกษามักให้นำเอาประเด็นเหล่านี้มาสรุปสั้นๆ เป็นคำถามวิจัยไว้ด้วย เพื่อสะดวกแก่ผู้สนใจจะได้ไม่ต้องอ่านที่มาอันยืดยาวและได้ความชัดเจนว่าผู้วิจัยมีคำถามอะไรอยู่ในใจบ้าง เมื่อคำถามเหล่านี้ชัดเจนมากขึ้นแล้วย่อมสามารถทำให้นำไปสู่ประเด็นต่อไปในบทที่ ๑ ได้ง่ายขึ้นซึ่งหมายถึงการตั้ง วัตถุประสงค์ของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึง  หลักการสำคัญก็คือ  ๑.วัตถุประสงค์ต้องมีความชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร กับใคร ที่ไหน ในช่วงระยะเวลาใด  ๒.วัตถุประสงค์ต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่อง และประเด็นปัญหา

Principle of Qualitative Research : หลักการทำวิจัยเชิงคุณภาพ

มีรูปแบบการวิจัยที่นักวิจัยต้องทำการลงไปศึกษา สืบค้น สังเกต กับกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษา โดยทำการระบุละเอียดในทุกด้านเกี่ยวกับลักษณะที่ต้องการศึกษา การวิจัยเชิงคุณภาพนั้นไม่ได้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจกาตัวเลขเป็นหลัก แต่จะวิเคราะห์วิจัยในรูปแบบของการให้ตรรกะเชิงเหตุผลจากปรากฎการณ์ที่พบเจอ โดยใช้เหตุผล ตรรกะ ประกอบกับแนวคิดทฤษฎีในมุมมอง/มิติ ที่โดนผลกระทบหรือส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบแวดล้อม เช่น สังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ ศรัทธา เพื่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิดวิเคราะห์ของผู้วิจัยในมุมมองที่หลากหลายเเละเกี่ยวข้องกับกรณีศึกษานั้นๆ อย่างเป็นระบบในเชิงปรัชญาหรือเชิงการค้นพบ     เเละองค์ประกอบของงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมักประกอบไปด้วยหัวข้อต่างๆ ดังนี้ บทที่ 1  บทนำ   1.1 ความเป็นมา (ที่มา) และความสำคัญของปัญหา  องค์ประกอบภายในบท: มักจะเป็นการอธิบายถึงความเป็นมาของ Topic ของหัวข้องานวิจัย เเละความสำคัญของปัญหาที่ทำให้เกิดงานวิจัยเล่มนี้ขึ้นมา 1.2 คำถามวิจัย หรือคำถามชี้นำการวิจัย องค์ประกอบภายในบท:  มั