ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2012

หลักการเขียนแนวคิด/ทฤษฎี/งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือบทที่ 2 ในงานวิจัย

คือการนำทฤษฎีที่จะนำมาใช้ในงานวิจัยมานำเสนอผ่านการวิเคราะห์: Analysis เพื่อแยกส่วนประกอบเเละนำมาโยงความสัมพันธ์ในแต่ละส่วนด้วยการสังเคราะห์: Synthesis 1. การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นหนึ่งของ การวิจัย ซึ่งใช้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงระดับคุณภาพของงานวิจัยในเรื่องนั้นๆได้ เป็นอย่างดี 2. การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ช่วยทำให้ผู้วิจัยทราบข้อมูลมากมายในเรื่องที่จะทำวิจัยตั้งแต่ขั้นเริ่ม ต้นจนถึงขั้นสุดท้ายของการวิจัย 3. ปัญหาที่สำคัญของกิจกรรมในการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่     3.1 การไม่รู้จักแบ่งเวลาให้เหมาะสมสำหรับการค้นคว้าเอกสาร     3.2 ไม่รู้จักแหล่งของเอกสารและข้อมูล     3.3 ไม่รู้จักหลัก และเทคนิคของการสกัดข้อมูลที่สำคัญออกมาจากเอกสาร และงานวิจัยที่อ่าน     3.4 ไม่รู้จักวิธีเขียนเรียบเรียงเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดจากเอกสารเข้าด้วยกัน 4. สรุปขั้นตอนการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นแรก อ่านราบละเอียดตั้งแต่ต้นจนจบ ให้รู้เรื่องทั้งหมด ขั้นที่สอง วิเคราะห์เรื่องที่อ่าน

แนวทางการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย

แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย ต้องเป็นปัญหาที่มีผู้ต้องการแก้ไขที่หลากหลาย ไม่ใช่ปัญหาที่ผู้ทำวิจัยสนใจอยากจะแก้เพียงคนเดียว อาทิเช่น การมองเห็นปัญหาแบบมหภาค หรือปัญหาใหญ่ ณ ช่วงเวลานั้นๆ เช่น ปัญหาระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระดับองค์กรหลักๆของสังคม แสดงปัญหาที่จะศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ควรจะต้องเป็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะจะเป็นข้อได้เปรียบในการตั้งปัญหาของการวิจัย เเละเป็นเรื่องที่มีความใหม่ น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจต่อคณะกรรมการสอบหัวข้อ  อาทิเช่น ปัญหาที่กระทบต่อสายวิชา สายอาชีพของผู้ทำวิจัย เช่น ปัญหาในระดับจุลภาคที่ใกล้ตัว หรือที่อาจจะเกิดเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น มีข้อมูลสถิติหรือผลการวิจัยสนับสนุนเพื่อให้เห็นปัญหาอย่างชัดเจน กล่าวง่ายๆคือ ต้องมีหลักฐานหรือที่มาของข้อมูลอย่างเพียงพอ รอบด้าน รู้จริง ไม่ใช่ยกมาจากหนังสือ บทความเพียงเท่านั้น อาทิเช่น การกล่าวโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงเเละมีความสำคัญต่อด้านที่เกิดปัญหานั้นๆจากสื่อประเภทต่างๆ ทั้ง ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) เช่น บุคคลในพื้นที่่ที่ต้องการจะศึกษา

แนวทางการตั้งชื่อโครงการวิจัย

ตัวแปรที่สำคัญที่ใช้ในการวิจัย    ขอบเขตการศึกษา       ลักษณะที่มาของข้อมูล          สาขาวิขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย .............................................................................................................

หลักในการกำหนดปัญหาเพื่อหัวข้อวิจัย (Select Topic)

     การกำหนดหัวข้อวิจัยจะต้องมาจาก แก่นปัญหาที่มีความพิเศษต่อผู้วิจัยในการให้ข้อมูลที่หลากหลายเเละครอบคลุม  (Information-rich cases) เพื่อทำให้ผู้วิจัยได้เข้าใจสิ่งที่เป็นปัญหาในงานวิจัยของตนได้อย่างดี แม้ปริมาณของตัวอย่างจะมีไม่มากก็ตาม ทั้งนี้ ตัวผู้วิจัยจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องดังต่อไปนี้       แนวทางการวิจัย (Research approach) เเละ วิธีการวิจัย (Research methords)     องค์ ความรู้เเละปรัชญาล้วนมาจาก แนวทางในการทำวิจัย(Research approach)  ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อชี้วัดว่าข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการทำวิจัยนั้นควรเป็นอะไรเเละอย่างไร เพราะเมื่อนักวิจัยมีองค์ความรู้หรือหลักปรัชญาก็จะสามารถเลือก วิธีการวิจัย (Research methord)  ที่ประกอบไปด้วย เครื่องมือที่เหมาะสมเพื่อใช้ในขั้นตอนของการเก็บข้อมูลเเละวิเคราะห์ข้อมูลต่อไปได้นั่นเอง    จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าทั้ง  แนวทางการวิจัย (Research approach) เเละ วิธีการวิจัย (Research methords)  ต่างมีความเชื่อมโยงที่สัมพันธ์กันด้วยการใช้หลักปรัชญาทางด้านองค์ความรู้ของผู้วิจัยในการเลือกปัญหาที่นำมาใช้เป็นประเด็นปัญหาของการวิจัย เพื่อนำมาซึ่งการพิจารณากา

การกำหนดวัตถุประสงค์

เป็นการนำ เอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัย ได้แล้ว การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง     2. กำหนดแนวทางของการวิจัย

Variable หรือ การกำหนดตัวแปร

ตัวแปร (Variable) หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่าเป็นลักษณะคุณภาพคุณสมบัติของบุคคล/สิ่งของหรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1 ลักษณะเช่น เชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , …. อายุ แปรค่าได้เป็น 1,2,3,…… ระดับความวิตกกังวล แปรค่าได้เป็น ต่ำ , ปานกลาง , สูง   ตัวแปรตาม ( dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ไป เช่น งานวิจัยเรื่อง ตัวแปรภายนอก หรือตัวแปรแทรกซ้อน ( extraneous variable) หมายถึง ตัวแปรอื่น ๆ   ตัวแปรต้นหลายตัว และตัวแปรตามตัวเดียว ระดับช่วงมาตรา ( interval scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปรที่สูงขึ้นมาจาก 2 ระดับที่กล่าวมาแล้ว คือสามารถวัดรายละเอียดของคุณลักษณะที่แตกต่างกันของตัวแปรออกมาเป็นค่าตัวเลข และตัวเลขนั้นมี คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ คือ บวก ลบ คูณ หาร ได้ มีคุณสมบัติที่ระบุความแตกต่างได้ว่า มากกว่า หรือ น้อยกว่าเป็นเท่าไร โดยคุณสมบัติพิเศษคือ ค่าของเลขศูนย์เป็นค่าที่กำหนดขึ้น ไม่ได้เป็นค่าศูนย์ที่แท้จริง ( relative zero) ยกตัวอย่างเช่น

การเก็บรวบรวมข้อมูล

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 1. วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้คำตอบโดยตรง (Personal interview หรือ Face to face interview) เป็นวิธีการที่ส่งเจ้าหน้าที่หรือพนักงานออกไปสัมภาษณ์ผู้ให้คำตอบ และบันทึกคำตอบลงในแบบข้อถาม วิธีนี้นิยมใช้กันมากในการทำสำมะโนและสำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสภาพการณ์ของประเทศไทย เพราะเป็นวิธีการที่ทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด พนักงานสัมภาษณ์สามารถชี้แจงหรืออธิบายให้ ผู้ตอบเข้าใจในคำถามได้ ทำให้ได้รับคำตอบตรงตามวัตถุประสงค์ แต่การที่จะให้ได้คำตอบที่ดี ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น วิสัยสามารถของผู้ตอบที่จะเข้าใจคำถาม ความตั้งใจของผู้ตอบและความสุจริตใจที่จะให้คำตอบ ความสามารถของพนักงาน ที่จะสัมภาษณ์ได้อย่างละเอียดครบถ้วน และบันทึกคำตอบอย่างถูกต้อง และที่สำคัญที่สุดคือ ความซื่อสัตย์สุจริตของพนักงานสัมภาษณ์ที่จะไม่กรอกข้อมูลเอง ซึ่งในทางปฏิบัติก่อนที่จะส่งเจ้าหน้าที่หรือพนักงานออกไปปฏิบัติงาน จะต้องทำการอบรมชี้แจงให้เข้าใจถึงขั้นตอนการสัมภาษณ์ ตลอดจนวัตถุประสงค์ของโครงการ คำจำกัดความหรือความหมายของคำต่างๆ ที่ใช้ในแบบข้อถาม การกรอกแบบข้อถาม 2. วิธีการสัมภาษณ์