ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Utopia - Heterotopias (มิติพื้นที่แบบยูโทเปีย - เฮเทอโรโทเปีย)

Utopia คือนัยของความสมบูรณ์ในอุดมคติ ส่วน Heterotopias คือพื้นที่ในสังคมที่ถูกทับซ้อนด้วยมิติปัญหาต่างๆในสังคมที่มีความสัมพันธ์ทั้งพื้นที่ว่างเเละสถานที่ที่อาจถูกใช้ทำให้เกิดพื้นที่ที่ไม่ปกติ (Other Spaces) เกิดขึ้น


Utopia หรือ ยูโทเปีย เป็นการเล่นคำ outopia จากภาษากรีกที่แปลว่า “ไม่มีสถานที่ใดๆ หรือ No place” กับคำว่า Eutopia ที่แปลว่า “สถานที่ที่ดี หรือ good place” จึงทำให้เกิดความหมายที่ผสมผสานเเละได้นัยของความหมายว่า “Utopia จะเป็นสังคมที่สมบูรณ์แบบแต่มันก็ไม่มีทางไปจุดนั้นถึงได้”

นั่นเพราะ...ได้มีการนำเสนอผ่านงานศิลปะและวรรณกรรมในรูปแบบที่มีนัยยะที่มีความหมายถึงว่า “เราไม่ต้องการที่จะนำเสนอภาวะสมบูรณ์หรือพื้นที่ที่เป็นอุดมคติแบบยูโทเปียที่เป็นจริงเพียงในจินตนาการ....เพราะว่า...พื้นที่ของนักเขียนและศิลปินจะเน้นระดับของความเป็นจริงแท้สูงมาก...นั่นจึงทำให้มีพื้นที่ว่างสำหรับความขัดแย้งและตรงกันข้ามกับความจริงอาศัยอยู่ในพื้นที่ว่างนั้นด้วย....เเละทำให้พื้นที่ว่างตรงนั้นมักจะมีแนวโน้มที่เดินคู่ขนานไปกับเส้นทางของสังคมที่มีอยู่จริง

จึงทำให้อีกมุมมองนั้นทั้งในส่วนของงานวรรณกรรมและทางงานศิลปะ….ได้สร้างและนำเสนอมิติแห่งพื้นที่แบบ เฮเทอโรโทเปีย(Heterotopias) เข้าไปด้วยเพราะวรรณกรรมจะมีการพรรณนาถึงพื้นที่ที่มีอยู่แล้วแต่ยังคงตั้งหน้าตั้งตาที่จะแสดงออกถึง “ความปรารถนาให้เป็นไปตามสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงในโลกนี้ลงไปด้วย” 

Michel Foucault กล่าวว่า "ยูโทเปียเป็นสถานที่ที่ไม่มีอยู่จริงในที่ใดๆทั้งสิ้น เพราะยูโทเปียเป็นสถานที่ที่จินตนาการขึ้นมาในลักษณะ แนวเทียบๆแบบตรงๆเเละมักสวนทางกันกับสังคมที่เป็นอยู่จริงนั่นเพราะว่า “ยูโทเปียคือสังคมที่มีความสมบูรณ์จากในตัวเองหรือจากการที่ถูกสังคมกลับหัวกลับหางใหม่เพราะอาจจะเกิดจากการที่สภาพสังคม ณ ที่เป็นอยู่ตรงนั้นอาจจะไม่สามารถตอบโจทย์ของความต้องการหรือความสุขในระดับมหภาคของสังคมนั้นๆก็เป็นได้” อาจเป็นไปได้ว่าในทุกวัฒนธรรมและทุกอารยธรรมก็มีสถานที่ที่ดำรงอยู่จริงเช่นกันและตั้งอยู่ในส่วนที่เป็นฐานรากลึกสุดของสังคมเหมือนกับอะไรบางอย่างที่คอยถ่วงน้ำหนักหรือคานสังคมไว้ พื้นที่นี้ตรงกันข้ามกับยูโทเปีย Utopia นั้นคือ “Heterotopias หรือ เฮเทอโรโทเปีย”

Heterotopias หรือเฮเทอโรโทเปีย หรืออีกชื่อคือ Other Space เป็นการเรียนรู้จากพื้นที่ของสังคมที่สามารถทำให้ชี้วัดได้ถึงกรอบของความปกติออกจากความไม่ปกติได้อย่างชัดเจนที่สุดเพราะทำให้เกิดความเข้าใจในความสัมพันธ์ของโครงสร้างทางสังคมในพื้นที่นั้นๆว่ามีโครงสร้างเป็นอย่างไร มีอำนาจใดอยู่ในพื้นที่เเละใช้พื้นที่นั้นๆอย่างไรบ้าง รวมทั้งยังสามารถทำให้รู้ได้ว่าอำนาจเหล่านั้นแสดงอำนาจต่อสังคมนั้นได้อย่างไรเเละส่งผลกระทบได้แค่ไหนอีกด้วย

นั่นเพราะความสัมพันธ์ระหว่างมิติของพื้นที่ว่างทางสังคม และ มิติของพื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ตามทฤษฎีที่ว่าด้วยอำนาจและการใช้อำนาจ หรือ Theory of Power คือการมีภาวะของ 2 ขั้วอำนาจอยู่ร่วมกัน ซึ่งในที่นี้หมายความเเละยกตัวอย่างได้ถึง “การมีพื้นที่ระหว่างพื้นที่ว่างของสังคม (พื้นที่ที่เหมาะสมกับการใช้อำนาจก่อเหตุ) กับพื้นที่ว่างทางสถาปัตยกรรม (หรือพื้นที่ๆเป็นรูปธรรม)” 



ตัวอย่าง

     การที่สังคมมีพื้นที่ของสะพานลอยที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานจึงทำให้เกิดพื้นที่รกร้างเพราะขาดการดูแลจากผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเเละเมื่อเกิดพื้นที่รกร้างขึ้นนั้นจึงทำให้เกิดกลุ่มคนที่แฝงตัวอยู่ใต้เงาปัญหาของสังคมได้เล็งเห็นความเหมาะสมที่จะใช้พื้นที่นั้นเพื่อก่อเหตุผิดปกติไปจากสังคมนั้นขึ้นได้ เมื่อเกิดพื้นที่ว่างที่สัมพันธ์กับการแสดงหรือใช้อำนาจที่ผิดปกติของสังคมขึ้น
    เช่นการปล้น มันจึงทำให้เกิดผลลัพธ์ของความวุ่นวายหรือการสร้างปัญหาให้เกิดขึ้นกับพื้นที่ของสังคมนั้นในที่สุดเเละอาจเกิดขึ้นกับสังคมอื่นๆที่มีลักษณะพื้นที่ที่เหมือนกันได้อีกด้วย” เป็นต้น 


สรุป
มิติแห่งพื้นที่แบบ เฮเทอโรโทเปีย (Heterotopias) หรือพื้นที่ว่างอื่นๆ Other Space คือ พื้นที่ของการปฏิเสธภาวะทางสังคมเเละในขณะเดียวกันนั้นเฮเทอโรโทเปีย (Heterotopias) หรือ Other Space ก็ยังทำหน้าที่ของการแสดงภาพของความเป็นเป็นได้ของพื้นที่นั้นๆในรูปแบบที่ต่างออกไปกลับเข้าไปสู่สังคมให้ได้ทราบในลักษณะของการลดช่องว่างในพื้นที่ที่ชี้วัดปัญหากับพื้นที่ที่เกิดปัญหาจริงที่สลายไปเพราะ เฮเทอโรโทเปีย (Heterotopias) หรือ Other Space นั้นจะสอดแทรกการนำเสนอลักษณะในการบริหารจัดการทำการปกปิดหรือซ่อนกลุ่มบุคคลที่มีความผิดปกติไปจากมาตราฐานหรือบุคคลที่อยู่นอกเหนือจากกรอบมาตราฐานที่จะทำให้สังคมอันปกติดำเนินต่อไปไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างปกติออกจากบุคคลอื่นๆโดยใช้พื้นที่เป็นกรอบกั้น” นั่นจึงทำให้ทราบได้ว่า การสร้างภาพในความคิดทั้งยูโทเปีย Utopia และเฮเทอโรโทเปีย (Heterotopias) มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับสภาวะจริงของชีวิตที่ดำรงอยู่ไม่ว่าผลที่ปรากฏจะเป็นการปฏิเสธสังคมหรือความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น"

.......................................




5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร

Survey Research หรือ การวิจัยเชิงสำรวจ

เป็นเทคนิคการวิจัยซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของประชากรเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดในการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม ผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจแสดงถึงเทคนิคการออกแบบพื้นฐาน 4 ประการ ที่ใช้ใน การวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงเหตุผล ดังวิธีการ ดังนี้ 1. การสำรวจ ( Survey) 2. การทดลอง ( Experiments) 3. การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือข้อมูลประวัติศาสตร์ ( Historical data) 4. การสังเกต ( Observation techniques) การเขียนแบบสอบถามการกำหนดรายการของคำถามการออกแบบคำถามที่มีการจัดพิมพ์หรือเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นลักษณะของการพัฒนาการออกแบบงานวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจอาจใช้โทรศัพท์ จดหมาย หรือใช้บุคคลสัมภาษณ์ก็ได้ การทดลอง ( Experiments) การทดลองจะใช้มากในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล( Cause-and-effect relationships)   การทดลองเป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรหนึ่ง หรือหลายตัวแปรเพื่อวัดผลกระทบต่อตัวแปรตาม เช่น การวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการออกจากงาน การขาดงานหรือการมาสาย การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือ ข้อมูลประวัติศาสต