ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การวิจารณ์ เเละ โครงสร้าง

การวิจารณ์เเละโครงสร้าง 

    หลักในการวิเคราะห์หรือวิจารณ์ที่เกี่ยวข้องกับเชิงสัญญะวิทยา (Semiology) มีกลวิธีปฏิบัติแตกต่างไปจากงานวิจัยทั่วไปที่ต้องมีขั้นตอนในกระบวนการสร้างแนวคิดจากระดับมหภาคไปสู่ระดับจุลภาค

    ทั้งนีั้......เพื่อสร้างกรอบแนวความคิดในการวิเคราะห์/วิจารณ์ที่มีพื้นฐานมาจากส่วนประกอบต่างๆของเป้าหมายการวิเคราะห์ ดังนี้


    การวิจารณ์ / การวิเคราะห์เนื้อหา
    พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545) กล่าวว่า การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เน้นที่ตัวเนื้อหา หรือ “สาร” เป็นหลัก เนื่องจากในตัวสารจะมีข้อความสำคัญที่สื่อมวลชนต้องการจะสื่อไปยังผู้รับสาร ได้แยกส่วนประกอบในการวิเคราะห์เนื้อหาออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
    1) คำคำแต่ละคำ หรือศัพท์แต่ละศัพท์ถือเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในเนื้อหา การนับแล้วบันทึกจำนวนคำปรากฏบ่อยๆในเนื้อหาจะทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของสื่อมวลชนในการส่งสารนั้นไปยังผู้ชมได้
    2) อรรถบท หรือแก่นความคิดหลัก หมายถึงประเด็นของเรื่องหรือจุดมุ่งหมายของสารนั้นๆ อาจจะมีอรรถบทเดียวหรือหลายอรรถบทก็ได้ในการจดบันทึกอรรถบทที่ปรากฏนั้นยากกว่าการบันทึกคำ เพราะอรรถบทไม่ได้มีการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเช่นคำ จึงต้องใช้ความเข้าใจและการตัดสินใจของผู้วิจัยในการแยกแยะ
    3) ตัวละคร การจดบันทึกตัวละครหมายถึง การบันทึกสถานภาพ ลักษณะหรือบทบาทของตัวละคร เช่น สถานภาพทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางชาติพันธุ์ เป็นต้น
4) ประโยคหรือย่อหน้าประโยคแต่ละประโยคหรือย่อหน้าแต่ละย่อหน้าในเนื้อหานั้นย่อมประกอบด้วยคำหลายคำ หรือบางครั้งอาจประกอบไปด้วยหลายอรรถบท ดังนั้นในการบันทึกอาจทำให้เกิดความสับสน ดังนั้น ในบางกรณีอาจเลือกการใช้คำเป็นหน่วยวิเคราะห์จะดีกว่า เพราะจะได้ไม่ต้องเกิดความสับสน
5) ข้อกระทง คือ เรื่องราวทั้งหมดของเนื้อหาแต่ละชิ้นว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น สงคราม ศาสนา เศรษฐกิจ เป็นต้น


สิน พันธุ์พินิจ (2549) ให้แนวทางในการวิเคราะห์เนื้อหาไว้ว่าจะต้องดำเนินการอย่างมีระบบ และมีทฤษฎีสนับสนุนเพื่อสร้างข้อสรุป โดยต้องประกอบไปด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การให้คำนิยามลักษณะเฉพาะของเนื้อหาที่น่าสนใจ พร้อมกับพิจารณาจำแนกประเภทของเนื้อหาหรือประเด็นบนพื้นฐานของทฤษฎี
2. การกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับคัดเลือก และบันทึกลักษณะของเนื้อหา
3. การเลือกหน่วยวิเคราะห์ ซึ่งอาจเป็นกิจกรรม ถ้อยคำ ข้อความ เป็นต้น
4. การอ่านข้อมูลและบันทึกความถี่ของประเด็นในเนื้อหา


การนับความถี่ของประเด็นในเนื้อหามีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. การนับความถี่ของประเด็นที่มีหรือไม่มี จะทำให้ทราบอัตราของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2. การนับจำนวนเวลาที่เกิดขึ้นของประเด็นเนื้อหา จะทำให้ทราบถึงความหนักแน่นและความสำคัญของประเด็นการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงสัญญะ






สืบเนื่องจาก "การวิจารณ์ / การวิเคราะห์เนื้อหา" ข้างต้นนั้นทำให้ทราบได้ว่าส่วนประกอบต่างๆที่แยกย่อยออกมานั้นคือองค์ประกอบของขั้นตอนในการวิจารณ์/วิเคราะห์เนื้อหาแต่ทว่าในการวิเคราะห์บทภาพยนตร์ หนังสั้น สื่อโฆษณา นั้นต่างต้องมีโครงสรา้งของการวิจารณ์อย่างเป็นรูปแบบที่ชัดเจนเเละแยกแยะองค์ประกอบออกมาจากสื่อ


ด้วยเหตุนี้ กุหลาบ มัลลิกะมาศ (2540) จึงได้แยกย่อยองค์ประกอบของโครงสร้าง การเล่าเรื่องภาพยนตร์ วรรณกรรม เพื่อการวิเคราะห์/วิจารณ์ ได้ดังนี้


โครงสร้างของการวิจารณ์
แนวคิดโครงสร้างการเล่าเรื่องของภาพยนตร์ (กุหลาบ มัลลิกะมาศ (2540) ประกอบไปด้วย
1) โครงเรื่อง (Plot) คือ ลำดับหรือทิศทางของการดำเนินเรื่องที่มีการกำหนดเอาไว้เป็นกรอบของเหตุการณ์ทั้งหมดในเรื่องที่ดำเนินตั้งแต่ต้นจนจบเป็นลำดับเหตุการณ์หรือพฤติกรรมของตัวละครหรือเป็นการดำเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง โครงเรื่องเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาพยนตร์โดยปกติจะมีการลำดับเหตุการณ์ในการเล่าเรื่องไว้ 5 ขั้นตอน ได้แก่
1.การเริ่มเรื่อง (Exposition)
2.การพัฒนาเหตุการณ์ (Rising Action)
3. ภาวะวิกฤติ (Climax)
4. ภาวะคลี่คลาย (Falling Action)
5. การยุติเรื่องราว (Ending)


2) แก่นเรื่อง (Theme) คือ ความคิดหลักในการดำเนินเรื่องซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเล่าเรื่องเพื่อให้มีความเข้าใจถึงแก่นความคิดหลักของผู้เล่า อาจเป็นแก่นเรื่องที่เกี่ยวกับความรัก ศีลธรรม เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เรื่องอำนาจ เป็นต้น ซึ่งแก่นเรื่องจะมีความแตกต่างกันไปตามโครงสร้างที่ต้องการนำเสนอ
3) ความขัดแย้ง (Conflict) คือ เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของเรื่องที่สร้างปมปัญหาให้กับตัวละครเพื่อหาหนทางแก้ปัญหาความขัดแย้งจะทำให้เห็นพัฒนาการของเหตุการณ์และพฤติกรรมของตัวละครความสำคัญของความขัดแย้งที่มีต่อโครงเรื่องคือ เป็นสิ่งที่ทำให้เรื่องราวดำเนินไปอย่างมีทิศทาง หากเรื่องใดมีความขัดแย้งที่สมเหตุผลมีที่มาที่ไปแน่นอน เรื่องราวนั้นๆก็จะดำเนินไปอย่างน่าเชื่อถือและสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1) ความขัดแย้งระหว่างบุคคล
2) ความขัดแย้งภายในจิตใจ
3) ความขัดแย้งกับพลังภายนอก แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ความขัดแย้งภายในจิตใจ
2. ความขัดแย้งกับพลังภายนอก


4) ตัวละคร (Character) คือ ผู้ทำหน้าที่เดินเนื้อหาพาเรื่องราวไปสู่จุดจบของเรื่อง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้ง ที่เป็นมนุษย์และที่ ไม่ใช่มนุษย์ อาจเป็นสัตว์ หรือสิ่งของก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับผู้นำเสนอเรื่องต้องการจะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร นอกจากนี้ยังหมายถึง บุคลิกลักษณะของตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตาหรืออุปนิสัยใจคอของตัวละครด้วย โดยตัวละครแต่ละตัวจะต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วนเสมอ นั่นคือส่วนที่เป็นความคิด (Conception) และส่วนที่เป็นพฤติกรรม (Presentation)
ปกติตัวละครในภาพยนตร์จะแบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ ตัวละครเอก ตัวละครร้าย และตัวละครประกอบ มีรายละเอียด ดังนี้


- ตัวละครเอก (protagonist) จะเป็นศูนย์กลางของโครงเรื่องของภาพยนตร์ทั้งหมดเพราะเป็นตัวละครที่ร้อยเรื่องราวต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อแสดงให้เห็นแก่นของเรื่อง
- ตัวละครร้าย (antagonist) จะเป็นตัวละคร หรือเป็นสิ่งที่ขู่เข็ญตัวละครเอกและทำให้เกิดความขัดแย้งกับตัวละครเอก ตัวละครร้ายอาจจะเป็นทั้งตัวละครที่เป็นสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติก็ได้
- ตัวประกอบอื่นๆ เป็นตัวละครที่ใส่เข้ามาไว้ในเรื่องเพื่อให้เรื่องดูสมจริงยิ่งขึ้น


ฟีลิปดา (2548) กล่าวว่าลักษณะของตัวละครแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะโดยจะสังเกตได้จากการกระทำของตัวละครที่โต้ตอบกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการพูดคุยกับตัวละครตัวอื่นๆ ในเรื่อง หรือจากความคิดของตัวละครที่พูดกับตนเอง โดยตัวละครทั้ง 2 ลักษณะนั้น ได้แก่


- ตัวละครแบบมีมิติ (Round character) เป็นตัวละครที่มีหลากหลายคุณสมบัติและอารมณ์มีจุดเด่นจุดด้อยมีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรม หรือความคิดหลังจากที่ได้ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่องเป็นลักษณะของตัวละครที่ค่อนข้างมีความสมจริง
- ตัวละครแบบแบน (flat character) เป็นตัวละครที่บุคลิกไม่ซับซ้อน อาจมีเพียงมิติเดียว มักใช้เป็นลักษณะของตัวละครประกอบที่ไม่สำคัญ


5) ฉาก (Setting) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของภาพยนตร์เนื่องจากการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ คือ การถ่ายทอดเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันและเหตุการณ์ต่างๆจะเกิดขึ้นโดยปราศจากสถานที่มิได้ดังนั้นฉากจึงมีความสำคัญเพราะทำให้มีสถานที่รองรับเหตุการณ์ต่างๆของเรื่องนอกจากนี้ฉากยังมีความสำคัญในแง่ที่สามารถบ่งบอกความหมายบางอย่างของเรื่องมีอิทธิพลต่อความคิดหรือการกระทำของตัวละครได้อีกด้วยเพราะตัวละครที่มีต้นกำเนิดหรืออาศัยอยู่ในสถานที่ต่างกันก็ย่อมมีบุคลิกและทัศนคติที่แตกต่างกันฉากแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. ฉากที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ สภาพแวดล้อมธรรมชาติที่แวดล้อมตัวละคร เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ลำธาร หรือ บรรยากาศค่ำเช้าในแต่ละวัน


2. ฉากที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ ได้แก่ ที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ หรือสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่มนุษย์มีไว้เพื่อใช้สอย


3. ฉากที่เป็นช่วงเวลาหรือยุคสมัย


4. ฉากที่เป็นการดำเนินชีวิตของตัวละคร


5. ฉากที่เป็นสภาพแวดล้อมเชิงนามธรรม


6) สัญลักษณ์พิเศษ (Symbol) คือ ลักษณะการเล่าเรื่องในภาพยนตร์มักมีการใช้สัญลักษณ์พิเศษ (Symbol) เพื่อสื่อความหมายอยู่เสมอสำหรับสัญลักษณ์พิเศษในภาพยนตร์ที่ใช้ในการสื่อความหมายนั้นประกอบไปด้วย สัญลักษณ์ทางภาพ และสัญลักษณ์ทางเสียง
1. สัญลักษณ์ทางภาพ คือ องค์ประกอบของภาพยนตร์ที่ถูกนำเสนอซ้ำๆ อาจเป็นวัตถุ สถานที่ หรือสิ่งมีชีวิตทั้งที่เป็นตัวบุคคลหรือสัตว์ก็ได้สัญลักษณ์อาจเป็นภาพเพียงภาพเดียวหรือเป็นกลุ่มของภาพที่เกิดจากการตัดต่อ
2. สัญลักษณ์ทางเสียง คือ เสียงต่างๆที่ถูกใช้เพื่อแสดงความหมายอื่นๆ เพื่อเปรียบเทียบความหมายหรือเพื่อแสดงวัตถุประสงค์ของตัวละครไม่ใช่การใช้อารมณ์ร่วมกับตัวละครและเรื่องราวของภาพยนตร์ เป็นต้น


7) มุมมองในการเล่าเรื่อง (Point of view) คือ การมองเหตุการณ์ การเข้าใจพฤติกรรมของตัวละครตัวใด ตัวหนึ่ง หรือหมายถึง การที่ผู้เล่ามองเหตุการณ์จากวงในใกล้ชิด หรือจากวงนอกในระยะห่างๆ ซึ่งแต่ละจุดยืนมีความน่าเชื่อถือแตกต่างกันจุดยืนในการเล่าเรื่องมีความสำคัญต่อการเล่าเรื่องอย่างยิ่งเพราะจุดยืนจะมีผลต่อความรู้สึกของผู้ชมและมีผลต่อการชักจูงอารมณ์ของผู้เสพเรื่องเล่ามุมมองในการเล่าเรื่องแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
    1) เล่าเรื่องจากจุดยืนบุคคลที่หนึ่ง (The first-Person Narrator)
    2) เล่าเรื่องจากบุคคลที่สาม (The Third-Person Narrator)
    3) การเล่าเรื่องจากจุดยืนที่เป็นกลาง (The Objective Narrator)
    4) การเล่าเรื่องแบบรู้รอบด้าน (The Omniscient Narrator)










5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร

Survey Research หรือ การวิจัยเชิงสำรวจ

เป็นเทคนิคการวิจัยซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของประชากรเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดในการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม ผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจแสดงถึงเทคนิคการออกแบบพื้นฐาน 4 ประการ ที่ใช้ใน การวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงเหตุผล ดังวิธีการ ดังนี้ 1. การสำรวจ ( Survey) 2. การทดลอง ( Experiments) 3. การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือข้อมูลประวัติศาสตร์ ( Historical data) 4. การสังเกต ( Observation techniques) การเขียนแบบสอบถามการกำหนดรายการของคำถามการออกแบบคำถามที่มีการจัดพิมพ์หรือเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นลักษณะของการพัฒนาการออกแบบงานวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจอาจใช้โทรศัพท์ จดหมาย หรือใช้บุคคลสัมภาษณ์ก็ได้ การทดลอง ( Experiments) การทดลองจะใช้มากในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล( Cause-and-effect relationships)   การทดลองเป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรหนึ่ง หรือหลายตัวแปรเพื่อวัดผลกระทบต่อตัวแปรตาม เช่น การวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการออกจากงาน การขาดงานหรือการมาสาย การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือ ข้อมูลประวัติศาสต