กระบวนทัศน์ทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (The qualitative research paradigm) เป็นมิติทางวิจัยเชิงคุณภาพที่ทำให้เกิดมุมมองใหม่ต่อชุดข้อมูลเดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิมแต่อย่างใด ซึ่งความสำคัญของการสร้างกระบวนทัศน์ คือ การสร้างปรากฏการณ์ที่ทำให้คนเกิดความสามารถในการแก้ปัญหาเดิมๆแต่ไม่เคยได้รับการแก้ไขได้นั้นให้เกิดมุมมองใหม่ๆในการนำไปใช้แก้ไขปัญหาได้ด้วย มิติ ดังนี้ มิติทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลัก ความเชื่อพื้นฐานของ การวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ "ต้องการค้นหาความจริงด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้จากภาพรวมที่หลากหลายมิติเเละมุมมอง" มิติของ อัตลักษณ์ที่ปรากฏการณ์ในงานวิจัย เน้นการค้นหาความจริงทางสังคมที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความนึกคิดของมนุษย์ เช่น อัตตวิสัย (S ubjectivity) คือ มุมมอง/ ความคิดเห็น ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ความรู้สึก ความเชื่อส่วนตน (ตรงกันข้ามกับ ปรวิสัย / ปรนัย / วัตถุวิสัย) หรือ ภววิสัย (O bjectivity ) คือ การยึดถือพื้นฐานอยู่บน ข้อเท็จจริง เงื...