ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2013

Thomas More (โธมัส มัวร์, นักคิดสังคมนิยม "ยูโธเปีย" คนแรกของโลก)

“ Thomas More ”( โธมัส มัวร์ , 1477-1535, พ.ศ. 2059) นักคิดสังคมนิยมคนแรกของโลก ผู้เรียกร้องความเป็นธรรมจากกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จากวาทกรรม " ความยากจนคือรากฐานแห่งรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์กษัตริย์เป็นผู้ครองครองทรัพย์สมบัติเเละเป็นเจ้าของเหนือชีวิตของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั้งผองโดยไม่มีขอบเขตข้อจำกัดใดๆราษฎรจะใช้จ่ายทรัพย์สินของตนได้ก็ต่อเมื่อได้รับพระราชอนุญาติเเล้วเท่านั้น " " ประชาชนสถาปนากษัตริย์ (ผู้ปกครอง) ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของตัวเองหาใช่เพื่อประโยชน์ของกษัตริย์ (ผู้ปกครอง)ไม่ประชาชนตั้งผู้ครองบ้านเมืองก็หวังที่จะได้มีชีวิตความเป็นอยู่รุ่งเรื่องอยู่เย็นเป็นสุขโดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อการรุรานรังความของศัตรูหน้าที่อันศักดิ์ิสิทธ์ของผู้ปกครองบ้านเมืองก็คือจักต้องถือเอาความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาราษฎร์ส่วนรวมให้อยู่เหนือกว่าความสุขส่วนตัวจักต้องตั้งตนเสมือนหนึ่งคนเลี้ยงเเกะที่ซื่อตรงต่อหน้าที่พลีตนเพื่อนำฝูงแกะไปสู่ทุ่งหญ้าอันอุดมสมบูรณ์ที่สุด" " เมื่อบุคคลไม่สมบูรณ์เเล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็สมบูรณ์ไม่ได้" คติพจน์ประจำสังคม "ยูโธเ

Empirical Phenomenology An Approach for Qualitative Research (ปรากฎการณ์วิทยาเชิงประจักษ์)

การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิธีปรากฎการณ์วิทยาเชิงประจักษ์  (Empirical Phenomenology An Approach for Qualitative Research)  Moustakus & Clark.(1990) กล่าวไว้ว่า ปรากฏการณ์วิทยาเชิงประจักษ์ คือ การศึกษาแนวคิดและกระบวนการในด้านความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์  การสะท้อนความรู้สึก  ความคิด  และประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา เป็นการค้นหาพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมาโดยตรง แมกซ์ แวน เมเนน (2000) ซึ่งเขาได้เสนอวิธีการและขั้นตอนการศึกษาแบบปรากฏการณ์วิทยาว่า มีอยู่ 2 วิธีการหลัก  ได้แก่            1)  วิธีการเชิงสะท้อนกลับ (Reflective methods)                        2)  วิธีการเชิงประจักษ์ (Empirical methods)             โดยที่ในแต่ละวิธีก็มีการได้มาซึ่งข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันไป ซึ่งแบบแรกเป็นวิธีการเชิงสะท้อนกลับ ซึ่งมีวิธีการหาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ Hermeneutic Interview Reflection, Exegetical Reflection, Linguistic Reflection, Thematic Reflection,  Guided Existential Reflection,   และCollaborative Reflection,  ซึ่งใน   แต่ละวิธีก็มีวิธีเฉพา

Michel Foucault: miʃɛl fuko, 1926-1984 (มิเชล ฟูโกต์; 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984)

มิเชล ฟูโกต์ ( Michel Foucault )  ( 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 - 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984) มิเชล ฟูโกต์ ( mi ʃɛ l fuko) คือ นักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ ปัญญาชน นักวิพากษ์ และนักสังคมวิทยา ชาวฝรั่งเศส เขาเคยดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของระบบความคิด" ( Professor of the History of Systems of Thought) ที่วิทยาลัยฝรั่งเศส ( Collège de France) คือ นักคิดที่มีแนวคิดที่อ้างถึงความสัมพันธ์ของอำนาจที่เกี่ยวข้องเเละความเชื่อมโยงของอำนาจในสังคม (โดยเขาได้กล่าวว่า อำนาจมีอยู่ทุกที่ ทุกอนูของสังคมเพียงแต่เราอยู่ในสังคมนั่นจึงทำให้เราไม่เห็นอำนาจนั้นๆ)เขาเชื่อว่าอำนาจมีอยู่ทุกหนทุกแห่งในสังคมประดุจหนึ่งว่าไม่มีทางแยกอำนาจออกมาจากสังคมได้เพราะว่าสังคมเป็นส่วนร่วมของการทำให้เกิดอำนาจเเละอำนาจนั้นอาศัยบทบาททางสังคมเป็นตัวขับเคลื่อนอำนาจนั่นเอง นั่นคือ "โครงข่ายแห่งอำนาจ" เเต่ มิเชล ฟูโกต์ ก็ไม่ได้ตั้งข้อสังเกตุว่า อำนาจมีอยู่ตรงจุดไหน อย่างไร ใครถือมันไว้ แต่ เขากลับมองว่า อะไรที่ทำให้อำนาจนั้นแสดงตนออกมาได้ หรือ อำนาจนั้นมันทำงานอย่างไร อะไรคือโครงข่ายของอำนาจ

Chaos theory ทฤษฎีไร้ระเบียบ

ทฤษฎีไร้ระเบียบ คือการให้นิยามถึงการทุกๆการเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งย่อมเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพื่อก้าวไปสู่ยุคใหม่ทั้งแบบนุ่มนวลหรือแบบหักดิบ...ก็ตาม      1. ระเบียบเดิม ที่เคยใหม่ในครั้งอดีตที่ผ่านมาถึงกาลเวลาผ่านไปก็ต้องชำระใหม่เพราะโลกเราหมุนเร็วขึ้นทุกวันในทุกวัน      2. มีการทำงานเเละดำเนินการไปเรื่อยๆอย่างราบเรียบ จนถึงเหตุการณ์ที่ต้องเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ใหม่กว่า (ที่มนุษย์ทึกทักเอาว่าของใหม่จะต้องดีกว่าของเก่า ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถูกใช้มาจนทุกวันนี้)      3. นำมาสู่ความไร้ระเบียบเเละไปสู่ความโกลาหล ในท้ายที่สุดเพราะไม่ว่ามนุษย์จะเข้ามาจัดการกับสิ่งใดก็ตามดูเเล้วทุกสิ่งอย่างยิ่งจะมีความยุ่งเหยิงเเละตามมาด้วยความวุ่นวายไม่จบสิ้นเพราะมนุษย์ไร้ซึ่งความพอใจเเละควาามพอดีของตน นั่นก็คือ ความโลภนั่นเองที่เป็นชนวนก่อให้เกิดความวุ่นวาย      4. ทางเลือกหรือทางที่มีให้เลือก จากการบังคับของผู้มีอำนาจ จากคำกล่าวที่ว่า ประวัติศาสตร์มักจะถูกเขียน(ใหม่)โดยผู้ชนะ ดูจะไม่เป็นคำพูดที่เกินจริงเกินไปนัก เพราะผู้ชนะย่อมเป็นผู้สร้างกฏระเบียบต่างๆไว้เพื่อบังคับผู้ใต้อำนาจนั่นเอง (ในกรณีี้นี้ถ้าผู้นำดีมีจริยธรร