ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Michel Foucault: miʃɛl fuko, 1926-1984 (มิเชล ฟูโกต์; 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984)

มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault
(15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 - 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984)

มิเชล ฟูโกต์ (miʃɛl fuko)
คือ นักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ ปัญญาชน นักวิพากษ์ และนักสังคมวิทยา ชาวฝรั่งเศส เขาเคยดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของระบบความคิด" (Professor of the History of Systems of Thought) ที่วิทยาลัยฝรั่งเศส (Collège de France)

คือ นักคิดที่มีแนวคิดที่อ้างถึงความสัมพันธ์ของอำนาจที่เกี่ยวข้องเเละความเชื่อมโยงของอำนาจในสังคม (โดยเขาได้กล่าวว่า อำนาจมีอยู่ทุกที่ ทุกอนูของสังคมเพียงแต่เราอยู่ในสังคมนั่นจึงทำให้เราไม่เห็นอำนาจนั้นๆ)เขาเชื่อว่าอำนาจมีอยู่ทุกหนทุกแห่งในสังคมประดุจหนึ่งว่าไม่มีทางแยกอำนาจออกมาจากสังคมได้เพราะว่าสังคมเป็นส่วนร่วมของการทำให้เกิดอำนาจเเละอำนาจนั้นอาศัยบทบาททางสังคมเป็นตัวขับเคลื่อนอำนาจนั่นเอง นั่นคือ "โครงข่ายแห่งอำนาจ"

เเต่ มิเชล ฟูโกต์ ก็ไม่ได้ตั้งข้อสังเกตุว่าอำนาจมีอยู่ตรงจุดไหน อย่างไร ใครถือมันไว้ แต่เขากลับมองว่า อะไรที่ทำให้อำนาจนั้นแสดงตนออกมาได้ หรือ อำนาจนั้นมันทำงานอย่างไร อะไรคือโครงข่ายของอำนาจ

เเละเมื่อมีอำนาจเป็นตัวตั้งจะต้องมีการใช้อำนาจเป็นตัวแปรตามเเละจะยังต้องมีสิ่งที่ถูกกระทำด้วยอำนาจหรือที่เรียกว่าตัวชี้วัดผลการทำงานของอำนาจนั่นคือผู้ที่อยู่ใต้อำนาจหรือผู้ที่ถูกใช้อำนาจนั่นเอง

แต่ทั้งนี้ อำนาจ ถ้าได้ถูกใช้โดยผู้นำที่มีศีลธรรม คุณธรรม อำนาจนั้นจะสร้างความผาสุกให้กับสังคมได้

แต่ทว่า อำนาจ ที่ถูกใช้โดยผู้ที่ไม่สมควร หรือ ผู้นำที่ไม่มีคุณธรรมนั้นเเล้ว อำนาจนั้นก็จะส่งผลร้ายแก่สังคม เเละสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ที่อยู่ใต้อำนาจนั้นเอง

ด้วยเหตุนี้การมีตัวตนของอำนาจที่ไม่ดี จึงย่อมนำมาสู่ การต้านทานอำนาจ ของผู้ที่เดือดร้อน จึงนำมาสู่ วาทกรรม ที่ว่า

"ที่ใดมีอำนาจ ที่นั่นมีการต่อสู้"


นั่นแสดงให้เห็นว่าอำนาจทุกๆอำนาจที่เคยมีมาบนโลกเรานั้นส่วนใหญ่ส่งผลร้ายต่อสังคม สภาวะเศรษฐกิจ เเละบทบาททางการเมือง ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนของอำนาจที่จะทำให้อำนาจนั้นส่งผลดีหรือส่งผลร้ายต่อสังคมของเราได้นั่นเองเพราะผู้นำในอดีตส่วนใหญ่มักจะนำอำนาจมาใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ของสาธารณะนั่นเอง

.............................................................................................................
ติดต่อสอบถามได้ที่ 

Line ID
"researchtobranding" Tel 083-7044645 
"Pickpatiparn"  Tel 093-2629000

Email
 "researchtobranding@gmail.com"

"Pmresearch2011@gmail.com"

5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

การกำหนดวัตถุประสงค์

เป็นการนำ เอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัย ได้แล้ว การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง     2. กำหนดแนวทางของการวิจัย

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร