ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)


การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research

    เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง 


    จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate) 

    ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ

    ทำให้ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลักษณะของข้อมูลที่รอบด้าน (Holistic) หลากหลายที่มา เทคนิค เเละหลากหลายวิธีการ ที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ในสังคมนั้นๆ

จึงทำให้ วิธีการเก็บข้อมูล ของ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีลักษณะของการ "เก็บจากแหล่งข้อมูลขนาดเล็ก" หรือ "ไม่เน้นการสำรวจจากคนจำนวนมากๆ" เเละอาจ "มีเทคนิคของการเก็บข้อมูลเเละการวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่แยกออกจากกัน" อาทิเช่น ผู้วิจัยต้องการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมเเละการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในประเทศไทยจึงทำให้ผู้วิจัยต้องทำการเลือกใช้เทคนิคการสังเกตุการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมกับพื้นที่แวดล้อมของประชาชนในแต่ละพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายการเมืองในพื้นที่นั้นๆโดยอาจจะเป็นการสัมภาษณ์ด้วยเทคนิคการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด ทัศนคติต่อกันเเละกัน เป็นต้น 


ด้วยเหตุนี้ส่วนมาก การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) จึงใช้การเก็บข้อมูลจาก "การสังเกตและการสัมภาษณ์" มากกว่าวิธีการอื่นเพราะเสมือนเป็นการแฝงตนในพื้นที่หรือในชุมชนทำให้ได้ข้อมูลหลายด้าน 

ข้อดี คือ ข้อมูลที่ได้จะมีความ"ยืดหยุ่นไม่เน้นการตั้งสมมติฐานถ้าสมมติฐานที่ตั้งไว้ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง" เเละในความน่าเชื่อถือความถูกต้องของข้อมูลกระทำโดยนักวิจัยขณะทำการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ยังทำให้ผู้วิจัยนั้นสามารถที่จะทำการกำหนดปัญหาในการวิจัยเชิงคุณภาพจากลักษณะทั่วไปของปรากฏการณ์ เเละ ลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อหาสาเหตุ กระบวนการเเละผลกระทบรอบด้าน

เหตุนี้ การสำรวจวรรณกรรมในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) จึงทำให้ผู้วิจัยนั้นต้องคำนึงถึงบริบท (Context) ของปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิดแบบกว้างๆ (ระดับมหภาค) เพื่อให้ได้กรอบแนวคิดที่ตกผลึกทางความคิดในมิติที่ลึกซึ้งที่สุด (ระดับจุลภาค) เพื่อทำให้ผู้วิจัยได้แนวทางของกรอบแนวความคิด (Conceptual Framwork) ทั้งในรูปแบบกรอบงานวิจัย (Research Framwork) หรือแผนผังความคิด (Mind mapping) หรือรูปแบบใดๆได้อย่างละเอียดเเละเกิดจากความเข้าใจอย่างที่สุด


เเละจะทำให้ การเก็บรวบรวมข้อมูล นั้นตัวผู้วิจัยจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเก็บข้อมูลจากทั้งการสังเกตการณ์ (ทั้งแบบมีส่วนร่วมเเละแบบไม่มีส่วนร่วม) การจดบันทึก การสัมภาษณ์หรือสัมภาษณ์เชิงลึก เเละการเก็บจากข้อมูลเอกสารที่มีการจดบันทึกไว้ก่อนเเล้ว (ข้อมูลทุติยภูมิ) เพราะทำให้ได้ข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการวิจัยได้ผ่านการกระบวนการทางความคิด ความเข้าใจอย่างเหมาะสมเเละถี่ถ้วนอย่างมากเช่น การกำหนดตัวอย่างและสนาม (พื้นที่) ของการวิจัยให้ชัดเจนและต้องรวบรวมข้อมูลที่เป็นบริบทของข้อมูลการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอน เพราะผู้วิจัยจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์และใช้เทคนิคการสังเกตการณ์หรือการสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความละเอียดเกี่ยวกับโลกทัศน์ ความรู้สึก ค่านิยม ประวัติ คุณลักษณะ ฯลฯ มาประกอบการวิเคราะห์ผลของการวิจัยต่อไปได้

การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) จะใช้วิธีการจำแนกเพื่อจัดระบบข้อมูลเพื่อตอบคำถามในการตีความว่าสิ่งที่ได้มานั้นมันคืออะไรหรือเป็นอย่างไร และหาความสัมพันธ์ของข้อมูลดำเพื่อแยกแยะเงื่อนไขเเละดูสาเหตุในความสัมพันธ์เเละกระบวนการเปลี่ยนแปลงโดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางสถิติเพื่อรวบรวมจัดหมวดหมู่ข้อมูล


ซึ่งนั่นทำให้การเสนอรายงานผลการวิจัยเชิงคุณภาพจึงมักถูกนำไปใช้ในการตีความปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรมที่ต้องการแก้ไขปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม อย่างเช่นกรณีที่ตำรวจได้ทำการปลอมตัวเป็นสมาชิกเด็กเเว้นเพื่อทำการจับกุม โดยไม่เกิดอันตรายต่อตัวตำรวจ เด็กเเว้น เเละประชาชนที่สัญจรไปมาบนท้องถนน เป็นต้น (ซ้อนแผน!ตำรวจหนุ่มปลอมตัวแฝงเป็นเด็กแว้นตลบหลังพาเข้าซอยปิดล้อมรวบ, ที่มา https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_32241. วันที่ 4 ต.ค. 2559)


    สรุป การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นบทบาทของตัวผู้วิจัยในการลงพื้นที่ด้วยตนเองจากทั้งการศึกษาเเละการสังเกตุแบบละเอียดในทุกๆด้านแบบเจาะลึก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการตีความด้วยทักษะของการวิเคราะห์เชิงเหตุเเละผลด้วยการนำปรากฏการณ์ที่เป็นปัญหามาตีแผ่หรือต้องการแนวทางการแก้ไขมาสร้างรูปแบบแนวทางให้กับสังคมได้รับรู้เเละนำไปใช้ด้วยรูปแบบของการใช้แนวคิด ทฤษฎีที่เข้าถึงมิติด้านต่างๆของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม หรือวิถีชีวิต ประเพณี  เเละเเสดงผลที่ได้จากการวิจัยด้วยตรรกยะทางทฤษฏีที่เหมาะสมเเละชี้วัดได้ถึงเหตุเเละผลที่ทำให้เกิดปัญหาหรือปรากฏการณ์ทางสังคมนั้นขึ้นมาได้ ซึ่งหากเป็น การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เเล้วนั้นจะเป็นเพียงการแสดงข้อเท็จจริงและข้อสรุปด้วยข้อมูลตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยันปริมาณของปัญหานั้น ของจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบ หรือข้อมูลอื่นๆที่ไม่ได้ลงลึกแบบรอบด้านในมิติต่างๆของปัญหานั้นได้เท่าไรนัก

เหตุนี้การวิจัยที่ผสมผสานระหว่างข้อมูลหรือสถิติปัญหารายด้านจากการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จึงต้องนำมาตีความเพื่อทำความเข้าใจในระบบหรือกระบวนการที่ทำให้เกิดปัญหานั้นๆเกหิดขึ้นมาในสังคมด้วยการใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เพื่อนำมาสู่แนวทางการแก้ไขที่ไม่ใช่เพียงรับทราบปริมาณปัญหาเพียงเท่านั้น แต่ต้องทำการศึกษาลงไปถึงต้นตอของปัญหาด้วยการแฝงตัวเข้าไปในพื้นที่ผ่านเทคนิคการเก็บข้อมูลรูปแบบต่างๆเพื่อนำมาตีความเเละแก้ปัญหาจากข้อมูลจริงในสถานที่จริง เพื่อให้ได้รับการแก้ไขปัญหาจริงๆให้ได้









5 อันดับบทความยอดนิยม

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร

Survey Research หรือ การวิจัยเชิงสำรวจ

เป็นเทคนิคการวิจัยซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของประชากรเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดในการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม ผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจแสดงถึงเทคนิคการออกแบบพื้นฐาน 4 ประการ ที่ใช้ใน การวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงเหตุผล ดังวิธีการ ดังนี้ 1. การสำรวจ ( Survey) 2. การทดลอง ( Experiments) 3. การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือข้อมูลประวัติศาสตร์ ( Historical data) 4. การสังเกต ( Observation techniques) การเขียนแบบสอบถามการกำหนดรายการของคำถามการออกแบบคำถามที่มีการจัดพิมพ์หรือเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นลักษณะของการพัฒนาการออกแบบงานวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจอาจใช้โทรศัพท์ จดหมาย หรือใช้บุคคลสัมภาษณ์ก็ได้ การทดลอง ( Experiments) การทดลองจะใช้มากในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล( Cause-and-effect relationships)   การทดลองเป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรหนึ่ง หรือหลายตัวแปรเพื่อวัดผลกระทบต่อตัวแปรตาม เช่น การวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการออกจากงาน การขาดงานหรือการมาสาย การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือ ข้อมูลประวัติศาสต