ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

The qualitative research paradigm (กระบวนทัศน์ทางการวิจัยเชิงคุณภาพ)

กระบวนทัศน์ทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (The qualitative research paradigm) เป็นมิติทางวิจัยเชิงคุณภาพที่ทำให้เกิดมุมมองใหม่ต่อชุดข้อมูลเดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูลเดิมแต่อย่างใด



ซึ่งความสำคัญของการสร้างกระบวนทัศน์ คือ การสร้างปรากฏการณ์ที่ทำให้คนเกิดความสามารถในการแก้ปัญหาเดิมๆแต่ไม่เคยได้รับการแก้ไขได้นั้นให้เกิดมุมมองใหม่ๆในการนำไปใช้แก้ไขปัญหาได้ด้วย มิติ ดังนี้



มิติทางการวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหลักความเชื่อพื้นฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพที่ "ต้องการค้นหาความจริงด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เหตุการณ์หรือสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้จากภาพรวมที่หลากหลายมิติเเละมุมมอง" 


มิติของอัตลักษณ์ที่ปรากฏการณ์ในงานวิจัย
เน้นการค้นหาความจริงทางสังคมที่ถูกสร้างขึ้นมาจากความนึกคิดของมนุษย์
เช่น
อัตตวิสัย (Subjectivity) คือ มุมมอง/ความคิดเห็นของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อส่วนตน (ตรงกันข้ามกับ ปรวิสัย/ปรนัย/วัตถุวิสัย) หรือ
ภววิสัย (Objectivity) คือ การยึดถือพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริงเงื่อนไขที่เป็นความจริงเเละไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจ


มิติในบทบาทของนักวิจัยต่อการวิจัยเชิงคุณภาพ 
มุ่งพยายามทำความเข้าใจในประเด็นของความหมายในสิ่งที่เกิดโดยใช้การมองภาพรวม เเล้วจึงพัฒนาด้วยระบบความคิดมาสู่การสรุปความเข้าใจเป็นข้อมูลเชิงรูปธรรม


มิติของระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้
เพราะ วิธีเชิงคุณภาพ  ทั้งการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา, ปรากฏการณ์วิทยา, กรณีศึกษา, วิจัยชีวประวัติบุคคลวิจัยแบบสร้างทฤษฎีจากข้อมูลเเละวิจัยสนทนากลุ่ม
ต่าง....ด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อสร้างระบบแนวคิดให้เกิดความเข้าใจปรากฏการณ์นั้นก่อนนำแนวคิด/ทฤษฏีมาหาความสัมพันธ์ที่เป็นเหตุเเละผลให้มากขึ้นเพื่อคัดกรองข้อมูลที่หลากหลายให้เหมาะสมกับวิธีที่ดีที่สุด



มิติในการหาความน่าเชื่อถือ
ใช้ความน่าเชื่อถือมากกว่าความเที่ยงตรง (เชิงปริมาณ) ซึ่งนั่นหมายถึงการที่ตัวผู้วิจัยนั้นจะเกิดความรู้ความเข้าใจในข้อมูลมิติต่างๆอย่างถ่องเเท้ โดยอาจจะใช้แนวคิด/วิธีการ ที่หลากหลายตอบตรรกะด้านความสอดคล้องได้ โดยใช้การส่งถ่ายผลของการวิจัยด้วยแนวคิด ทฤษฏี ที่ได้จากการผ่านสถานการณ์ในงานวิจัยเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงเเละวัดผลได้ว่ามากน้อยเพียงไร
.........................................

















5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง           จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมา...

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการส...

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุ...

การกำหนดวัตถุประสงค์

เป็นการนำ เอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัย ได้แล้ว การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง   ...

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร...