ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2025

public policy หรือ ทฤษฎีนโยบายสาธารณะ (Thomas R. Dye, โธมัส อาร์.ดาย)

บทความ โดย NakhonsawanResearch.blogspot.com ทฤษฎีนโยบายสาธารณะ หรือ P ublic policy มีความหมายโดยรวมที่กล่าวถึงแนวทางของกิจกรรม โครงการหรือกฏเกณฑ์ที่ใช้เป็นรูปแบบข้อบังคับเพื่อให้ผู้คนในสังคมปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน 1.ตัวแบบสถาบัน ( Institutional Model)       โธมัส อาร์.ดาย มองว่านโยบายเป็นผลผลิตของสถาบันหมายความว่านโยบายสาธารณะถูกกำหนดขึ้นจากสถาบันหลักของรัฐผู้วิเคราะห์ต้องทำความเข้าใจว่าในประเทศนั้นๆมีสถาบันใด บ้างเป็นสถาบันหลักสถาบันเหล่านี้มีหน้าที่อย่างไร ตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกาที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบประธานาธิบดีสถาบันสำคัญมีสามฝ่ายคือฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ การศึกษาจากตัวแบบนี้จะดูว่าสถาบันของทั้งสามฝ่ายมีบทบาทเกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะอย่างไรมีการตรวจสอบถ่วงดุลกันอย่างไรการนำตัวแบบสถาบันไปวิเคราะห์นโยบายสาธารณะใดก็ตามต้องหาคำตอบให้ได้ว่านโยบายนั้นมีสถาบันใดเข้าไปมีบทบาทในการกำหนดนโยบายสถาบันใดรับผิดชอบนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติสถาบันใดทำหน้าที่บังคับใช้นโยบายในสังคมเช่นสภาผู้แทนราษฎรออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหน่วยงานที่รับผิดชอบในการนำนโยบา...

Michel Foucault: miʃɛl fuko, 1926-1984 (มิเชล ฟูโกต์; 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984)

มิเชล ฟูโกต์ ( Michel Foucault )  ( 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 - 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984) มิเชล ฟูโกต์ ( mi ʃɛ l fuko) คือ นักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ ปัญญาชน นักวิพากษ์ และนักสังคมวิทยา ชาวฝรั่งเศส เขาเคยดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของระบบความคิด" ( Professor of the History of Systems of Thought) ที่วิทยาลัยฝรั่งเศส ( Collège de France) คือ นักคิดที่มีแนวคิดที่อ้างถึงความสัมพันธ์ของอำนาจที่เกี่ยวข้องเเละความเชื่อมโยงของอำนาจในสังคม (โดยเขาได้กล่าวว่า อำนาจมีอยู่ทุกที่ ทุกอนูของสังคมเพียงแต่เราอยู่ในสังคมนั่นจึงทำให้เราไม่เห็นอำนาจนั้นๆ)เขาเชื่อว่าอำนาจมีอยู่ทุกหนทุกแห่งในสังคมประดุจหนึ่งว่าไม่มีทางแยกอำนาจออกมาจากสังคมได้เพราะว่าสังคมเป็นส่วนร่วมของการทำให้เกิดอำนาจเเละอำนาจนั้นอาศัยบทบาททางสังคมเป็นตัวขับเคลื่อนอำนาจนั่นเอง นั่นคือ "โครงข่ายแห่งอำนาจ" เเต่ มิเชล ฟูโกต์ ก็ไม่ได้ตั้งข้อสังเกตุว่า อำนาจมีอยู่ตรงจุดไหน อย่างไร ใครถือมันไว้ แต่ เขากลับมองว่า อะไรที่ทำให้อำนาจนั้นแสดงตนออกมาได้ หรือ อำนาจนั้นมันทำงานอย่างไร อะไรคือโครงข่ายของอำนาจ ...

Utopia - Heterotopias (มิติพื้นที่แบบยูโทเปีย - เฮเทอโรโทเปีย)

Utopia คือนัยของความสมบูรณ์ในอุดมคติ ส่วน Heterotopias คือพื้นที่ในสังคมที่ถูกทับซ้อนด้วยมิติปัญหาต่างๆในสังคมที่มีความสัมพันธ์ทั้งพื้นที่ว่างเเละสถานที่ที่อาจถูกใช้ทำให้เกิดพื้นที่ที่ไม่ปกติ (Other Spaces) เกิดขึ้น Utopia หรือ ยูโทเปีย เป็นการเล่นคำ outopia จากภาษากรีกที่แปลว่า “ไม่มีสถานที่ใดๆ หรือ No place” กับคำว่า Eutopia ที่แปลว่า “สถานที่ที่ดี หรือ good place” จึงทำให้เกิดความหมายที่ผสมผสานเเละได้นัยของความหมายว่า “Utopia จะเป็นสังคมที่สมบูรณ์แบบแต่มันก็ไม่มีทางไปจุดนั้นถึงได้” นั่นเพราะ...ได้มีการนำเสนอผ่านงานศิลปะและวรรณกรรมในรูปแบบที่มีนัยยะที่มีความหมายถึงว่า “เราไม่ต้องการที่จะนำเสนอภาวะสมบูรณ์หรือพื้นที่ที่เป็นอุดมคติแบบยูโทเปียที่เป็นจริงเพียงในจินตนาการ....เพราะว่า...พื้นที่ของนักเขียนและศิลปินจะเน้นระดับของความเป็นจริงแท้สูงมาก...นั่นจึงทำให้มีพื้นที่ว่างสำหรับความขัดแย้งและตรงกันข้ามกับความจริงอาศัยอยู่ในพื้นที่ว่างนั้นด้วย....เเละทำให้พื้นที่ว่างตรงนั้นมักจะมีแนวโน้มที่เดินคู่ขนานไปกับเส้นทางของสังคมที่มีอยู่จริง จึงทำให้อีกมุมมองนั้นทั้งในส่วนของงานวรรณกรรมและทา...

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง           จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมา...