ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Principle of Qualitative Research : หลักการทำวิจัยเชิงคุณภาพ

มีรูปแบบการวิจัยที่นักวิจัยต้องทำการลงไปศึกษา สืบค้น สังเกต กับกลุ่มบุคคลที่ต้องการศึกษา โดยทำการระบุละเอียดในทุกด้านเกี่ยวกับลักษณะที่ต้องการศึกษา


การวิจัยเชิงคุณภาพนั้นไม่ได้เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจกาตัวเลขเป็นหลัก แต่จะวิเคราะห์วิจัยในรูปแบบของการให้ตรรกะเชิงเหตุผลจากปรากฎการณ์ที่พบเจอ โดยใช้เหตุผล ตรรกะ ประกอบกับแนวคิดทฤษฎีในมุมมอง/มิติ ที่โดนผลกระทบหรือส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบแวดล้อม เช่น สังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อ ศรัทธา เพื่อให้เกิดการตกผลึกทางความคิดวิเคราะห์ของผู้วิจัยในมุมมองที่หลากหลายเเละเกี่ยวข้องกับกรณีศึกษานั้นๆ อย่างเป็นระบบในเชิงปรัชญาหรือเชิงการค้นพบ
  
เเละองค์ประกอบของงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้นมักประกอบไปด้วยหัวข้อต่างๆ ดังนี้


บทที่ 1 บทนำ 
1.1 ความเป็นมา (ที่มา) และความสำคัญของปัญหา 
องค์ประกอบภายในบท: มักจะเป็นการอธิบายถึงความเป็นมาของ Topic ของหัวข้องานวิจัย เเละความสำคัญของปัญหาที่ทำให้เกิดงานวิจัยเล่มนี้ขึ้นมา

1.2 คำถามวิจัย หรือคำถามชี้นำการวิจัย
องค์ประกอบภายในบท: มักเป็นการกล่าวถึง คำถามที่ใช้ในการั้งสมมุติฐานของงานวิจัยเพื่อชี้นำไปยังปัญหาที่ทำให้เกิดข้อสังเกตุของผู้วิจัยเพื่อนำมาสรา้งเป็นประเด็นปัญหาเข้าสู่งานวิจัย
1.3 วัตถุประสงค์
องค์ประกอบภายในบท: ประกอบไปด้วยการอธิบายสมมุติฐานของการวิจัยที่ได้ตั้งคำถามในรูปแบบของการต้องการคำตอบที่มีความสอดคล้องกับหัวข้อการวิจัย แนวคิด/ทฤษฎี ที่ใช้ในการวิจัย 
ข้อสังเกตุ* วัตถุประสงค์ในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น เน้นการอธิบายวัตถุประสงค์ในเชิงคุณภาพ (บรรยายพรรณา มากกว่าการตั้งวัตถุประสงค์ในรูปแบบปริมาณ (เป็นข้อ 1. 2. 3. .....)) เป็นต้น
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
องค์ประกอบภายในบท: ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยนั้นจะเป็นการให้ความหมายที่เป็นไปตามหัวข้อของการวิจัย เช่น เรื่องของวัฒนธรรม ปรัชญา จะเป็นการสร้างคุณูปการต่อสังคม ชุมชน ที่ได้ทำการลงพื้นที่เก็บข้อมูล เป็นต้น
1.5 ขอบเขตของการวิจัย (จำกัดของการวิจัย) 
องค์ประกอบภายในบท: แสดงการอธิบายถึงองค์ประกอบของ Topic ของการวิจัยว่ามีข้อจำกัด ขอบเขต ในมุมมองใด ด้านใดบ้างที่จะสามารถทำให้เกิดปัญหา การติดขัดในการเก็บข้อมูล/ลงพื้นที่ 
ซึ่งทั้งนี้มีความสำคัญในมุมมองของการที่ต้องนำมาอธิบายเพื่อสร้างกรอบให้กับการวิจัยเพื่อแสดงความกังวลในเรื่องของการให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความแตกต่างในด้านข้อจำกหัด ขอบเขต ที่มีแตกต่างกันไปตามแต่ละเหตุผลเเละประเด็นที่ทำการวิจัย
1.6 สมมติฐานการวิจัย 
องค์ประกอบภายในบท: เป็นการตั้งข้อคำถามเพื่อให้เกิดประเด็นทางความคิดที่เป็นการคาดเดาข้อคิด หรือข้อสังเกต ของการวิจัยในหัวข้อนั้นๆเพื่อสร้างกรอบของสมมุติฐานให้มีความชัดเจนเเละสอดคล้องกับ Topic ของงานวิจัยให้มากที่สุด 
1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ
องค์ประกอบภายในบท:เป็นการอธิบายถึงการให้นิยาม/ความหมาย/ความเข้าใจ ของผู้วิจัยต่อที่ไปที่มาของ Topic ต่างๆในหัวข้อการวิจัย
ข้อสังเกตุ* นิยามศัพท์เฉพาะ นั้น ผู้วิจัยต้องทำความเข้าใจเเละอธิบายด้วยการสังเหคาะ์เเละตกผลึกความหมายของ Topic ขึ้นเอง แทนการให่้ความหมาย/นิยามเหมือนกังเช่นการใช้เเหล่งที่มาจากงานวิจัยบทความอื่นๆที่มีองค์ประกอบที่แตกต่างกันแต่มีองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งที่มี Topic เดียวกันกับงานของผู้วิจัยเพียงเท่านั้น

บทที่ 2 
การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
2.1 แนวคิดและทฤษฎีต่างๆ(ที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์หรือประเด็นในงานวิจัย)
องค์ประกอบภายในบท: เป็นการอธิบายการเข้าถึงความเข้าใจใน Topic ณจุดต่างๆของผู้วิจัยต่องานวิจัยของตนเอง เพราะการเลือกแนวคิดเเละทฤษฏีในงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้นถงแม้จะสามรารถเลือกใช้แนวคิดเเละทฤษฏีได้หลากหลายเเละมีความยืดหยุ่นได้มากกว่างานวิจัยประเภทอื่นก็ตาม แต่หลักความเข้าใจการอธิบายการสังเคราะห์แนวคิดเเละทฤษฏีที่เลือกใช้นั้นจะต้องสอดคล้องเเละเป็นไปด้กับงานวิจัยของผู้วิจัยมากที่สุด (สอดคล้องเเละมีความเป็นไปได้)
ข้อสังเกตุ* การเลือกใช้แนวคิด/ทฤษฎี นั้นอาจจะเกิดจากการสร้างความเข้าใจกับ อ. ที่ปรึกษา เพื่ีอให้เกิดการระดมสมองแลกเปลี่ยนความเข้าใจ เพื่อนำมาซึ่งการเลือกใช้แนวคิด/ทฤษฎี ที่มีความเหมาะสมเเละสร้างความสอดคล้องของการเลือกใช้การวิเคราะห์ แปลผล ที่ส่งผลให้งานวิจัยมีคุณภาพอย่างมากได้อีกด้วย
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบภายในบท: งานวิจัยจะมีความสอดคล้องจากการเลือกใช้แนวคิด/ทฤษฎี ของผู้วิจัย เพราะการเลือกใช้ แนวคิด/ทฤษฎี ที่เหมาะสวมเเละสอดคล้องกันนั้น จะสามารถทำให้การวิเคาะห์ผลการวิจัยเป็นไปตามความคาดหมายของผู้วิจัยได้อีกด้วย 
ข้อสังเกตุ* การเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นช่วยให้ผู้วิจัยให้มีความน่าเชื่อถือของการเลือกการอ้างอิงการเลือกใช้เอกสารประกอบงานวิจัยที่มีความหมายในมุมมองของการเรียนรู้งานวิจัยที่มีความทันสมัยต่อกาลเเละเวลาได้อีกด้วย
2.3 กรอบแนวคิดในการวิจัย
องค์ประกอบภายในบท: เป็นการอธิบายในภาพรวมของงานวิจัยในประเด็นของความน่าสนใจของหัวข้อ ปัญหาที่พบ ข้อสังเกตุ สมมุติฐาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ เเนวคิดทฤษฎีที่เลือกใช้ ความเข้าใจใน Topic งานวิจัยของตนเองอย่างลึกซึ้งเพียงใด เป็นต้น
ข้อสังเกตุ* กรอบแนวคิดในการวิจัยนั้นสามารถทำการสรุปให้เป็นการตกผลึกทางความคิด หรือสร้าง Mind mapping ทางความคิดต่องานวิจัยเพื่อใช้เปิดหัวข้อเพื่อขอสอบหัวข้องานวิจัยต่อไป


บทที่ 3 วิธีการวิจัยและเครื่องมือ 
3.1 วิธีการวิจัย
องค์ประกอบภายในบท: เป็นผลพวงที่ได้มาจากการทำความเข้าใจในการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานวิจัย ที่ได้มาจากการทำความเข้าใจ ศึกษา งานวิจัยที่เกียวข้องมามากหรือน้อยได้ 
เเละ ถึงแม้ว่า เครื่องมื่อในการวิจัยเชิงคุณภาพจะมีอย่างมากมายให้เลือกใช้นั้น แต่แท้จริงเเล้วนั้นการวิจัยเชิงคุณภาพจะแบ่งวิธีการวิจัยได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้ คือ
3.1.1 การวิจัยแบบการลงพื้นที่ด้วยตนเอง เช่น การสัมภาษณ์ (อัดเสียง-เทป, แบบสัมภาษณ์ (เชิงลึก, สนทนา) การสอบถาม (แบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง -กึ่งมีโครงสรา้ง-ไม่มีโครงสร้าง)
3.1.2 การวิจัยเชิงเอกสาร หรือการศึกษาวิจัยจากเอกสาร เช่น การวิจัยจากบทความ หนังสือ จดหมายเหตุ รายการอัดเทป ภาพยนต์ หรือนิทรรศการ เป็นต้น 
ข้อควรระวัง* ในการเลือกใช้วิธีการวิจัยและเครื่องมือนั้น ต้องคำนึงเเละตระหนักถึง รูปแบบการวิจัย (การวิจัยแบบการลงพื้นที่ด้วยตนเอง หรือ การวิจัยเชิงเอกสาร หรือการศึกษาวิจัยจากเอกสาร) เพราะการวิจัยทั้ง 2 ประเภทนั้นมีความแตกต่างกันทั้งในด้านรูปแบบการได้มาซึ่งข้อมูล คุณภาพของข้อมูล ข้อจำกัดของข้อมูล ระยะเวลาในการวิจัย/การเก็บข้อมูล หรือหัวข้อของการวิจัย เช่น การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตนั้นจะไม่สามารถทำการเก็บข้อมูลหรือมีข้อจำกัดในการเก็บข้อมูลอย่างมากเพราะระยะเวลาที่ผ่านมาอย่างยาวนั้นบ่งชี้ได้ถึงวิธีการใช้เครื่องมือเเละวิธีการได้มาของข้อมูลได้นั่นเอง
3.2ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มผู้ให้ข้อมูล/กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์
องค์ประกอบภายในบท:เป็นการแสดงถึงวิธีการให้ได้มาซึ่งข้อมูลจากแหล่งใด วิธีการใด รูปแบบไหน เเละมีขั้นตอนในการเก็บอย่างไร ซึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นการได้มาซึ่งข้อมูล หรือแหล่งของข้อมูลนั้นมีความยืดหยุ่น หลากหลาย เเละสามารถใช้การเก็บข้อมูลที่หลากหลายในขณะเวลาเดียวกันได้ เช่น การสัมภาษณ์นั้นจะสามารถทำการเก็บข้อมูลด้วยการอัดเทปเสียงสัมภาษณ์เเละการบันทึกภาพเเละยังสามรารถเก็บข้อมูลจากการสังเกตุการณ์แบบมีหรือไม่มีส่วนร่วมไปด้วยอีกก็ได้
ข้อสังเกตุ* ข้อดีของการเก็บข้อมูลที่หลากหลายนั้นมีข้อดีคือทำให้ผู้วิจัยเก็บข้อมูลในช่วงเวลาเดียว แต่สามารถได้ข้อมูลที่ลหากหลายวิธีเเละได้มุมมองที่แตกต่างกันมากขึ้น เพราะการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นต้องการให้เห็นถึงมุมมองทางสังคม เหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่อมุมมองการวิเคราะห์เเละความเข้าใจของผู้วิจัยที่จะสามารถสะท้อนออกมาในงานวิจัยได้
3.3 สถิติ (โดยมากจะใช้เพื่อสนับสนุน/เสริม ข้อมูลเชิงคุณภาพ)
องค์ประกอบภายในบท: ในบางกรณีการใช้ข้อมูลเชิงสถิตินั้นอาจจะมีความจำเป็นกับงานวิจัยเชิงคุณภาพเพราะเนื่องด้วยความหลากหลายของข้อมูลที่การวิจัยเชิงคุณภาพอนุญาตให้มีได้นั้นการได้มาซึ่งตัวเลข สถิติ ในรูปแบบเชิงปริมาณนั้นสามารถนำมาใช้สนับสนุนสมมุติฐาน ความเข้าใจ การชี้วัด ให้กับข้อมูลเชิงคุณภาพให้มีความหนักแน่นมากขึ้นได้อีกด้วย
3.4 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
องค์ประกอบภายในบท:เครื่องมือของการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นการให้ความหมาย ความเข้าใจของผู้วิจัยต่อการเลือกใช้เครื่องมือต่อรูปแบบการเก็บข้อมูลที่สะท้อนไปถึงการได้มาของประเภทของข้อมูล (ตัวเลข บทสัมภาษณ์ หรือเสียงสัมภาษณ์ที่นำมาสร้าง Topic ของกลุ่มคำถราม-คำตอบ ในการสร้างกลุ่มข้อมูลได้)
ข้อสังเกตุ* เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถบ่งชี้ได้ถึงขั้นตอนการเก็บข้อมูลการได้มาของข้อมูลเเละผลของข้อมูลได้


บทที่ 4 
การวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 การอธิบายการวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัย (ขึ้นอยู่กับวิธีที่ใช้ในการวิจัย) 
องค์ประกอบภายในบท: เนื่องด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพนั้นเป็นรูปแบบการวิจัยที่มีความยืดหยุ่นอย่างมาก (สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการเก็บข้อมูล การหาผลลัพท์ให้ได้มาที่หลากหลายมากขึ้นหรือน้อยลง)
ดังนั้น
หัวข้อของการวิเคราะห์นี้จึงจะมีความยึดหยุ่นไปตามวิธีที่ใช้ในการวิจัย เช่น การเก็บแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ (มีโครงสร้าง กึ่งมีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth interview) 
เเละ การอธิบายการวิเคราะห์ผลของการวิจัยในการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น อาจจะมีความแตกต่างไปตามรูปแบบของการวิจัยที่แตกต่างกันออกไป เช่น การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) มักจะเป็นการวิเคราะห์โดยการพรรณนาบรรยาย (Descriptive Analysis) 
หรือ การใช้การวิเคราะห์ผลในเชิงปรากฏการณ์ที่เป็นการวิเคราะห์ผลที่มีการวิเคราะห์ผลในมุมมอง มิติ ต่างๆที่ปรากฏ/แสดง ให้ทราบเเล้วนำมาวิเคราะห์ในมุมมองต่างๆไปตามที่ผู้วิจัยหรือ อ.ที่ปรึกษาแนะนำว่าใช้การเก็บข้อมูล (ลงพื้นที่สัมภาษณ์/สอบถาม อ้างอิงเอกสาร หรือบทความวิชาการ) เพื่อให้ได้มาซึ่งที่มาของข้อมูล 
แต่ทั้งนี้..
การวิเคราะห์ข้อมูลในบทนี้นั้นอาจจะมีการแสดงผลจากการเก็บข้อมูลของการเก็บข้อมูลมนรูปแบบอื่นๆประกอบด้วย (เป็นการสร้างมิติในการเก็บข้อมูลที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพื่อข้อมูลที่หลากหลายเเละได้มาซึ่งประเด็นที่อยู่นอกกเหนือความคาดหมายได้) การสังเกตุแบบมีส่วนร่วม (PAR) หรือ การสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-PAR) ก็ได้

   4.2 มิติ / มุมมอง ของการวิเคราะห์ผล
องค์ประกอบภายในบท: หัวข้อย่อยนี้มักจะเป็นการแสดงถึงกึ๋นความคิดของผู้วิจัยที่สามารถแสดงความคิด หลักการวิเคราะห์ ความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ได้รับรู้รับทราบจากการวิจัย เพื่อแสดงออกมาในการวิเคราะห์มิติ / มุมมอง ของเหตุเเลผลของการวิจัยในหัวข้อ
4.3  (หัวข้อย่อยของการวิเคราะห์ผล)
องค์ประกอบภายในบท: จะเป็นส่วนเสริมของการวิเคราะห์ผลที่แยกออกมาจากหัวข้อ 4.1 เเละ 4.2 ในกรณีที่การวิเคราะห์ผลในข้อ 4.1 เเละ 4.2 นั้น ไม่สามารถอธิบายได้ละเอียดมากพอ 
เช่น 4.1 อธิบายผลวิเคราะห์ทั่วไป 4.2 อธิบายถึงมุมมองที่ได้พบจากมิติ / มุมมอง ที่ค้นพบโดยบังเอิญหรือนอกเหนือความคาดหมายของการได้มาซึ่งข้อมูลที่ใช้นำมาวิเคราะห์วิจัย
อาทิ การลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยใช้หลัก 3 เส้า (triangulation) ที่เป็นเรื่องของ วิธี การให้ได้มาซึ่งข้อมูล (ไม่ใช่ขั้นตอนของการเก็บข้อมูลที่มีรายละเอียด ประกอบไปด้วย 
1.การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (data triangulation)
2. การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย (investigator triangulation)
3. การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (theory triangulation)
เเละ 4. การตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูล (Methodological triangulation)

สรุป คือ การตรวจสอบข้อมูลแบบ 3 เส้า นั้นมีหลักการในการตรวจสอบเหล่งที่มาของข้อมูลแยกเป็น 3 ประเภท ดังที่ สุภางค์ จันทวานิช ได้ทำการกล่าวว่า 

"นักวิจัยที่งานวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจะต้องไม่ปักใจว่าแหล่งข้อมูลแหล่งใดแหล่งหนึ่งที่ได้มาตั้งแต่แรกเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ นักวิจัยจำเป็นต้องแสวงหาความเป็นไปได้ว่ายังมีแหล่งอื่นใดอีกบ้าง"

โดยทั้งนี้สามารถแบ่งการตรวจสอบข้อมูลแบบ 3 เส้า ได้ดังนี้

1.วิธีตรวจสอบโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลที่ต่างกันออกไป (methodological triangulation) เช่น การเก็บข่้อมูลจากเอกสาร บทความบทสัมภาษณ์ งานวิจัย
2. วิธีตรวจสอบโดยใช้แหล่งข้อมูลที่ต่างกัน (data triangulation) ใช้วิธีการโดยเปลี่ยนแหล่งที่เป็นบุคคล เวลา หรือ สถานที่ที่ให้ข้อมูล เช่น บุคคลที่หลากหลาย เวลาที่แตกต่างกันออกไปในการเก็บข้อมูล เเละสถานที่ที่แตกต่างกันออกไป (ทั้งนี้แหล่งที่แตกต่างกันนั้นต้องเป็นการเก็บข้อมูลที่ใช้ข้อคำถามเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสอดคล้องเเล้สามารถเปรียบเที่ยบข้อมูลให้มีความเที่ยงตรงมากที่สุด)
3.วิธีตรวจสอบโดยใช้ผู้เก็บข้อมูลที่ต่างกัน (investigator triangulation) เช่น การใช้ผู้เก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป (สามารถสร้างความเเตกต่างให้กับผล/ข้อมูล ของข้อมูลทีึ่แตกต่างกันได้) เป็นต้น
หมายเหตุ* ขั้นตอน วิธีการ รูปแบบการให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความหลากหมายมากขึ้นนั้นจะส่งผลให้เกิดความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้มา เเละเป็นข้อยืนยันในประเด็นของความหลากหลายของวิธีการ ขั้นตอน รูปแบบของข้อมูล ที่มีประโยชน์ต่อการวิจัยได้อย่างมาก


บทที่ 5 
บทสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 
5.1 สรุป/บทสรุป ของการวิจัย
องค์ประกอบภายในบท: เป็นการกล่าวในมุมมองของผู้วิจัยต่อผลของการวิจัย ทั้งนี้ บทสรุปของงานวิจัยเชิงคุณภาพอาจเป็นการสรุปผลในประเด็นของมุมมองที่เป็นองค์ประกอบของงานวิจัย (อาทิ มุมมองทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี การดำรงชีวิต ศาสนา ความเชื่อหรือศรัทธา เป็นต้น)

5.2 การอภิปรายผลการวิจัย
องค์ประกอบภายในบท: การอภิปรายมีความแตกต่างกับบทสรุปหรือการสรุปผลการวิจัยในมุมมองของการอภิปรายผลนั้นเป็นการกล่าวถึงการขยายผลการวิจัยให้ได้น่าเชื่อถือ ถูกต้อง เป็นจริง โดยชี้ให้เห็นว่าผลการวิจัยสอดคล้อง/ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย แนวคิดเเละทฤษฏีที่ได้ศึกษาหรืออ้างอิงมาหรือไม่ อย่างไร เเละผลการวิจัยนั้นเป็นไปตามแนวความคิดเเละทฤษฏีอะไรบ้างทั้งนี้อาจจะต้องมีการอธิบายได้ว่ามีความขัดแย้งหรือไม่เเล้วจึงอธิบายเหตุผลและหาข้อมูลสนับสนุนชี้แจงได้ด้วย 
ข้อสังเกตุ* ในบางครั้งการเขียนอภิปรายผลการวิจัยส่วนนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้วิจัยได้แสดงภูมิปัญญาเชิงวิพากษ์ การแสดงทัศนะที่แตกต่างจากผลลัพท์ที่ได้ (อาจจะด้วยเรื่องของตัวแปรที่แตกต่าง กาลเวลา ข้อจำกัด ที่แตกต่างกันออกไปอาจจะทำให้การอภิปรายผลการวิจัยนั้นเป็นการค้นพบข้อคิด หลักฐานใหม่ๆเพิ่มขึ้นได้ด้วย) ในฐานะที่เป็นผู้ทำงานวิจัย
5.3 ข้อเสนอแนะ
องค์ประกอบภายในบท: เป็นการให้ผู้วิจัยนั้นได้สรุป สังเคราะห์ ข้อเสนอเเนะ หรือข้อสังเกตุที่ได้จากงานวิจัย เพื่อการนำไปใช้กับกรณีศึกษาหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้สมมุติฐานของการวิจัยที่ยังไม่ได้มีการทดลอง/ทดสอบ นั้นได้ทำการทดสอบเพื่อสร้างตัวชี้วัดใหม่ๆที่เกิดจากการทดลองใช้ในสถานการณ์จริงได้อีกด้วย
ข้อสังเกตุ* ข้อเสนอเเนะของงานวิจัยเชิงคุณภาพนั้นจะมีความแตกต่างจาก วิธีของการวิจัยที่ผู้วิจัยได้เลือกใช้ (ลงพื้นที่ หรือการศึกษาจากเอกสาร) 
ดังนั้นข้อเสนอเเนะที่ได้จากการลงพื้นที่นั้นจะเป็นข้อเสนอเเนะที่เป็นการแสดงบทสรุป ความแตกต่าง ประเด็นใหม่ๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้กับกรณีศึกษาอื่นๆได้ 
แต่ ข้อเสนอเเนะที่ได้จากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) นั้น จะเป็นข้อเสนอเเนะที่แสดงมุมมองทางความคิดที่มีผลกระทบ (Effect) ต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต ประเพณี การดำรงชีวิต ศาสนา ความเชื่อหรือศรัทธา ในมิติ มุมมอง อย่างไร)


บทที่ 6 
(เพิ่มเติม, ส่วนเสริม หรือ บทสรุปผู้บริหาร)
องค์ประกอบภายในบท: บางหัวข้อของการวิจัยอาจมีการเพิ่มเติมในกรณีที่วัตถุประสงค์หรือตัวชี้วัดของงานวิจัยนั้นมีความหลากหลายหรือมีความแตกต่างในการหาเหตุผลนำมาสรุป อภิปรายผล ในมุมมองที่แตกต่างกันออกไป อาทิเช่น บทสรุปความแตกต่างในมุมมอง/มิติ ที่เกี่ยวข้องกับเคสที่มีความใกล้เคียงกัน บทสรุปสำหรับผู้บริหาร หรือบทสรุปที่มีผลกระทบต่ออนาคตของสิ่งแวดล้อมรอบข้าง เป็นต้น



***** อ้างอิง..... สุภางค์ จันทวานิช. ทฤษฎี 3 เส้า (triangulation). 

.......................................


5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร

Survey Research หรือ การวิจัยเชิงสำรวจ

เป็นเทคนิคการวิจัยซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของประชากรเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดในการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม ผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจแสดงถึงเทคนิคการออกแบบพื้นฐาน 4 ประการ ที่ใช้ใน การวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงเหตุผล ดังวิธีการ ดังนี้ 1. การสำรวจ ( Survey) 2. การทดลอง ( Experiments) 3. การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือข้อมูลประวัติศาสตร์ ( Historical data) 4. การสังเกต ( Observation techniques) การเขียนแบบสอบถามการกำหนดรายการของคำถามการออกแบบคำถามที่มีการจัดพิมพ์หรือเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นลักษณะของการพัฒนาการออกแบบงานวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจอาจใช้โทรศัพท์ จดหมาย หรือใช้บุคคลสัมภาษณ์ก็ได้ การทดลอง ( Experiments) การทดลองจะใช้มากในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล( Cause-and-effect relationships)   การทดลองเป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรหนึ่ง หรือหลายตัวแปรเพื่อวัดผลกระทบต่อตัวแปรตาม เช่น การวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการออกจากงาน การขาดงานหรือการมาสาย การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือ ข้อมูลประวัติศาสต