ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Survey Research หรือ การวิจัยเชิงสำรวจ

เป็นเทคนิคการวิจัยซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของประชากรเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดในการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม


ผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจแสดงถึงเทคนิคการออกแบบพื้นฐาน 4 ประการที่ใช้ในการวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงเหตุผล ดังวิธีการ ดังนี้
1.การสำรวจ (Survey)
2.การทดลอง (Experiments)
3.การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data study) หรือข้อมูลประวัติศาสตร์ (Historical data)
4.การสังเกต (Observation techniques)

การเขียนแบบสอบถามการกำหนดรายการของคำถามการออกแบบคำถามที่มีการจัดพิมพ์หรือเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นลักษณะของการพัฒนาการออกแบบงานวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจอาจใช้โทรศัพท์ จดหมาย หรือใช้บุคคลสัมภาษณ์ก็ได้

การทดลอง (Experiments)
การทดลองจะใช้มากในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล(Cause-and-effect relationships) การทดลองเป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรหนึ่ง หรือหลายตัวแปรเพื่อวัดผลกระทบต่อตัวแปรตาม เช่น การวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการออกจากงาน การขาดงานหรือการมาสาย

การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data study)
หรือข้อมูลประวัติศาสตร์ หมายถึงการศึกษาข้อมูลที่อยู่ในลักษณะของเอกสารต่างๆ ที่บุคคลอื่นหรือหน่วยงานอื่นเก็บรวบรวมไว้แล้ว เช่น สถิติ รายงาน เอกสารที่ตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์ที่คาดว่าจะมีข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย

การสังเกต (Observation techniques)
โครงการวิจัยหลายโครงการใช้การบันทึกโดยการสังเกต ตัวอย่าง การสังเกตขั้นตอนการทำงานและวิธีการใช้เครื่องสำนักงานต่าง ๆ การทำงานเป็นทีมการบริหารเวลา


การประเมินการออกแบบการวิจัย (Evaluating research designs)
ด้วยวลีที่ว่า “ไม่มีการออกแบบงานวิจัยวิธีใดที่ดีที่สุด” ดังนั้นจึงไม่มีกฎเกณฑ์ที่ยากที่สุดหรือดีที่สุดในการวิจัยธุรกิจด้วยเหตุนี้ไม่มีผู้วิจัยจะต้องเผชิญกับความสับสนและต้องเผชิญกับวิธีการที่เป็นทางเลือกในการแก้ปัญหาหลายประการ เพราะไม่มีวิธีการที่ถูกต้อง ที่เป็นมาตรฐานในการทำงานวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง งานวิจัยจะไม่เริ่มจนกว่าจะค้นหาการออกแบบ งานวิจัยที่ถูกต้อง เพราะมีหลายวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหา บางวิธีดี เหมาะสม แต่บางวิธีไม่ดี ไม่เหมาะสม บางครั้งอาจจะใช้หลายวิธีร่วมกัน เนื่องจากไม่มีการออกแบบงานวิจัยใดที่จะสมบูรณ์แบบ

การเลือกเทคนิค การวิจัยเชิงสำรวจ (Selection of exploratory research technique)
เพื่อค้นหาปัญหา (Problem discovery) การวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory research) เป็นกิจกรรมเบื้องต้นเกิดขึ้นหลังจากมีการกำหนดปัญหา คือ การทำให้ปัญหาอยู่ในรูปของแบบฟอร์มการวิจัยจุดมุ่งหมาย การวิจัยเชิงสำรวจก็คือ การทำให้ขอบเขตของการวิจัยแคบขึ้นและเปลี่ยนปัญหาที่คลุมเครือเป็นปัญหาที่ชัดเจนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเฉพาะอย่าง การสำรวจการศึกษาในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การอธิบายเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะบุคคล และการสำรวจสถานการณ์ ซึ่งจะสามารถทำให้แนวความคิดชัดเจนยิ่งขึ้น หลังจากการสำรวจแล้วผู้วิจัยจะต้องทราบข้อมูลเพื่อรวบรวมลักษณะที่เป็นทางการของโครงการ และวิธีการปฏิบัติตามโครงการนั้น ดังนั้นการตัดสินใจจะต้องคำนึงถึงการเลือกเทคนิคการวิจัยเชิงสำรวจ

เทคนิคการวิจัยเชิงสำรวจ ได้แก่
1.การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data analysis)
2.การศึกษานำร่อง (Pilot study)
3.การศึกษากรณีศึกษา (Case study)
4.การสำรวจเชิงประสบการณ์ (Experience surveys)


การวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data analysis)
ข้อมูลทุติยภูมิ Secondary data อาจจะเรียกว่า ข้อมูลประวัติศาสตร์ (Historical data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บรวบรวมเอาไว้แล้วในโครงการวิจัยอื่น
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากโครงการวิจัยที่ทำอยู่ ข้อมูลทุติยภูมิสามารถหาได้ทั้งจากภายในหรือภายนอก เช่น ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ห้องสมุดชุมชนต่าง ๆ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย และหน่วยธุรกิจต่าง ๆ
การสำรวจเชิงวรรณกรรมจากบทความ หนังสือ หรือเอกสาร ที่มีการจัดพิมพ์ไว้แล้วเกี่ยวกับวิธีที่มีการอภิปรายและการศึกษาเชิงทดลองในอดีตเกี่ยวกับหัวข้อ ซึ่งเป็นขั้นแรกที่มีความเป็นสากลในโครงการการวิจัยวิชาการ การสำรวจเชิงวรรณคดีจะใช้แนวการวิจัยประยุกต์จำนวนมาก

การศึกษานำร่อง (Pilot study)
เป็นการสำรวจที่ทำก่อนการสำรวจจริงโดยใช้วิธีต่าง ๆ เหมือนการศึกษาจริง แต่ขอบเขตแคบกว่า เพื่อตรวจสอบขั้นตอนต่าง ๆ ว่าถูกต้องหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคที่ต้องแก้ไขก่อนหรือไม่ การศึกษานำร่องอาจจะใช้ในการวิจัยเชิงสำรวจ (Exploratory research) โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการและการค้นหาข้อสรุปบางประการ
การศึกษานำร่องซึ่งนิยมใช้ในปัจจุบัน คือการสัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ (Focus group interview) ประกอบด้วย 6-10 คน ซึ่งกำหนดโดยข้อสมมติที่ว่าบุคคลเต็มใจที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งและเต็มใจที่จะแสดงความคิดเห็นร่วมกับบุคคลอื่น ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative) เพื่อนำไปสู่การศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative ) ต่อไป

การศึกษากรณีศึกษา (Case study)
เป็นการค้นหาปัญหาการวิจัยโดยการวิเคราะห์จากกรณีศึกษาของงานวิจัยซึ่งมีผู้ทำไว้แล้ว

การสำรวจเชิงประสบการณ์ (Experience surveys)
เป็นการค้นหาปัญหาการวิจัยโดยอาศัยประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัยและผู้บริหาร


.......................................



5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

การกำหนดวัตถุประสงค์

เป็นการนำ เอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัย ได้แล้ว การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง     2. กำหนดแนวทางของการวิจัย

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร