ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

HACCP(Hazard Analysis Critical Control Point) - การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม

HACCP คืออะไร 
         การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม หรือ Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) หมายถึง ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม ใช้เป็นเครื่องมือในการชี้เฉพาะเจาะจง, ประเมิน และ ควบคุมอันตรายทั้งอันตรายทางชีวภาพ เคมี และกายภาพ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์อาหาร
ระบบ HACCP ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง จากนานาประเทศถึงประสิทธิภาพ การประกันความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากระบบ HACCP เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมอันตราย ณ จุดหรือขั้นตอนการผลิตที่อันตราย เหล่านั้นมีโอกาสเกิดขึ้น จึงสามารถประกันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่า การตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุดท้าย หรือ การควบคุมคุณภาพที่ใช้กันอยู่เดิม ซึ่งมีความจำกัดของขนาดตัวอย่างที่สุ่ม นอกจากนั้นระบบ HACCP ยังมีศักยภาพในการระบุบริเวณหรือขั้นตอน การผลิตที่มีโอกาสเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ แม้ว่าจุดหรือในขั้นตอนดังกล่าว จะยังไม่เคยเกิดอันตรายมาก่อนซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานใหม่

ทำไมต้องใช้ระบบ HACCP             คณะกรรมการอาหารระหว่างประเทศ FAO/WHO หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า Codex ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2505 ได้พัฒนามาตรฐานอาหาร แนวทางและข้อแนะนำต่าง ๆ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน การปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรม และ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภค จากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร ซึ่งในปัจจุบันองค์กรการค้าโลก (WTO) ได้ใช้เป็นหลักอ้างอิง ในการดำเนินการทางการค้าระหว่างประเทศ ในส่วนของการรับรองความปลอดภัยด้านสุขภาพของผู้บริโภค และ การคุ้มครองการกีดกันทางการค้า โดย Codex ได้ร่วมแนวทางในการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ขึ้น ปัจจุบัน HACCP ถูกใช้เป็นหลักอ้างอิงสำหรับผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร และ หน่วยงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจาก Codex ได้พัฒนาขึ้นโดยประเทศสมาชิก 160 ประเทศ ดังนั้นระบบคุณภาพ HACCP จึงได้มีการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย ในการประกันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ในการดำเนินการค้าระหว่างประเทศ


ประโยชน์ของระบบ HACCP

1. สร้างความมั่นใจต่อความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหาร
2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์อาหาร อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ลดจำนวนตัวอย่างที่ต้องสุ่มตรวจ
4. ลดการสูญเสียของผลิตภัณฑ์
5. อำนวยความสะดวกในการดำเนินการค้าระหว่างประเทศ
6. เพิ่มอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ สอดคล้องกับข้อกำหนดของประเทศคู่ค้า

ประวัติของระบบ HACCP 

           ระบบ HACCP สำหรับการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารมีรากฐานมาจากการพัฒนา 2 ครั้ง ครั้งแรกเกี่ยวกับ Dr. W.E. Deming ซึ่งได้ตั้งทฤษฎีการจัดการคุณภาพ (Theories of Quality Management) ที่ใช้กันแพร่หลายและปัจจัยสำคัญในการพลิกผันคุณภาพของสินค้าญี่ปุ่น ในช่วงปี 1950 Dr. Deming และคณะได้พัฒนาระบบการจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management, TQM) ซึ่งเน้นการเข้าถึงระบบโดยรวมในการผลิต ทำให้สามารถปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นในขณะเดียวกันสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้
การพัฒนาใหญ่ครั้งที่สอง เป็นการพัฒนาความคิดของระบบ HACCP โดยตรง ความคิดของระบบ HACCP ได้เริ่มจัดทำขึ้นในช่วงปี 1960 โดยบริษัท Pillsbury ร่วมกับกองทัพสหรัฐอเมริกาและองค์การ NASA โดยเป็นการร่วมมือเพื่อพัฒนาการผลิตอาหารที่ปลอดภัยสำหรับโครงการอวกาศ ที่ต้องการโปรแกรมข้อบกพร่องเป็นศูนย์ (Zero-Defects Programme) เพื่อประกันความปลอดภัยของอาหารสำหรับนักบินอวกาศขณะเดินทางในอวกาศ บริษัท Pillsbury จึงได้นำระบบ HACCP มาใช้ เพราะเชื่อว่าเป็นระบบที่ให้ความปลอดภัยสูงสุดโดยไม่เน้นการทดสอบผลิตภัณฑ์สุดท้ายระบบ HACCP จะเน้นการควบคุมกระบวนการเท่าที่จะทำได้ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต โดยการควบคุมพนักงานและ/หรือเทคนิคการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องที่จุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Critical Control Point; CCP) บริษัท ได้เสนอแนวความคิด HACCP ต่อสาธารณชนในการประชุมเกี่ยวกับการป้องกันทางด้านอาหาร (Food Protection) ในปี 1971 ต่อมาในปี 1974 สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (US.FDA) ได้ประกาศใช้หลักการ HACCP ที่เสร็จสมบูรณ์เพื่อเป็นกฎหมายสำหรับอาหารกระป๋องที่มีความเป็นกรดต่ำอย่างเป็นทางการ ในระยะแรกของช่วงปี 1980 บริษัทอาหารที่สำคัญอื่น ๆ ได้เริ่มนำระบบ HACCP ไปใช้
ในปี 1985 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา (The National Academy of Science; USA) ได้แนะนำว่าควรนำระบบ HACCP มาใช้ในการจัดทำกระบวนการผลิตอาหารเพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหาร ต่อมาได้มีการแนะนำให้ใช้ระบบ HACCP เพื่อความปลอดภัยของอาหารอย่างกว้างขวางจากหน่วยงานหลายแห่ง เช่น International Commission for Microbiological Standards for Food; ICMSF, International Association of Milk, Food and Environmental Sanitarium; IAMFES

หลักการทั่วไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหารของ Codex
(The Codex Alimentarius General Principles of Food Hygiene) 


            ในการประชุมคณะกรรมาธิการ Codex (Codex Alimentarius Commission, CAC) ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน ถึง 7 กรกฏาคม 1993 ณ กรุงเวนีวา ที่ประชุมได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบ HACCP เพื่อใช้ในการควบคุมอาหาร จึงได้กำหนดการใช้ “แนวการปฏิบัติสำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP” (Guidelines for the Application of the Hazard Analysis Critical Control Point System) (ALINORM 93/13 A, App II) คณะกรรมการได้รับแจ้งว่าจะมีการร่างหลักการทั่วไปว่าด้วยสุขลักษณะของอาหารที่ผ่านการแก้ไขแล้วเข้าไปใช้ร่วมกับระบบ HACCP
คณะกรรมาธิการ ได้ทบทวนแก้ไขอีกครั้งในการประชุมครั้งที่ 22 ในเดือนมิถุนายน 1997 ในภาคผนวกของหลักการทั่วไปด้านสุขลักษณะของอาหาร และแนวทางปฏิบัติในการนำไปประยุกต์ใช้
หลักการทั่วไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหารของ Codex นั้น จะเป็นรากฐานเพื่อความมั่นใจในสุขลักษณะของอาหาร หลักการทั่วไปจะเป็นการติดตามห่วงโซ่อาหาร โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นของการผลิตไปจนกระทั่งถึงผู้บริโภคสุดท้าย โดยเน้นการควบคุมสุขลักษณะที่สำคัญในแต่ละขั้นตอนพร้อมกับแนะนำการใช้ระบบ HACCP ในส่วนที่สามารถปฏิบัติได้ เพื่อเสริมให้มีความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น การควบคุมนี้ได้รับการยอมรับเป็นสากลว่าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยและความเหมาะสมของอาหารสำหรับการบริโภคและการค้าระหว่างประเทศ


การประยุกต์ใช้ระบบ HACCP

           ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ในส่วนต่าง ๆ ของโซ่อาหารจะขึ้นอยู่กับสมมติฐานที่ว่าการปฏิบัตินั้นจะต้องสอดคล้องกับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practices; GMPs) และหลักการทั่วไปว่าด้วยสุขลักษณะอาหารของ Codex (The Codex Alimentarius General Principles of Food Hygiene) ความสามารถของอุตสาหกรรมที่จะใช้ระบบ HACCP ขึ้นกับระดับการปฏิบัติตามโปรแกรมเบื้องต้นเหล่านี้
ความสำเร็จของการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ต้องการพันธะสัญญาและความร่วมมือของฝ่ายบริหารการบังคับใช้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังต้องการคณะทำงานที่เกิดจากการผสมผสานของผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่าง ๆ เช่น ทางด้านเกษตรกรรม ปศุสัตว์ จุลชีววิทยา สาธารณสุข วิทยาศาสตร์การอาหาร อนามัย สิ่งแวดล้อม เคมี วิศวกรรม ฯลฯ อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ การประยุกต์ใชัระบบ HACCP จะสอดคล้องกับการใช้ระบบการจัดการคุณภาพ เช่น การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management; TQM) อนุกรม ISO 9000 ซึ่งระบบ HACCP เป็นทางเลือกหนึ่งของการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหาร




ระบบ HACCP กับการค้า 
             
              จากการประชุมรอบอุรุกวัยของ Multilateral Trade Negotiation ซึ่งเริ่มประชุมที่ Punta del Este เมื่อเดือนกันยายน 1986 และสรุปผลที่เมือง Marrakech เดือนเมษายน 1994 ในข้อตกลง Marrakech ให้จัดตั้งองค์การการค้าโลก (World Trade Organization; WTO) แทนข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (Gerneral Agreement on Tariffs and Trade; GATT) การประชุมรอบอุรุกวัยนี้เป็นครั้งแรกที่เกี่ยวข้องกับการค้าเสรีของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ซึ่งอยู่นอกเหนือข้อตกลงในครั้งก่อน ๆ
คณะกรรมาธิการ Codex ได้มีข้อเสนอที่สำคัญเกี่ยวกับความตกลงว่าด้วยการประยุกต์ใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (The Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures; SPS) และความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (The Agreement on the Techical Marriers to Trade; TBT, 1994)


จุดประสงค์ของข้อตกลง SPS มีเพื่อให้มั่นใจในมาตรการที่จัดทำโดยรัฐบาลเพื่อปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืชในด้านเกษตรกรรมเท่านั้น และเป็นข้อตกลงที่มีการเชื่อมโยงระหว่างกฏหมายและศีลธรรมเพื่อป้องกันการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ได้เกิดจากข้อกำหนดทางกฏหมาย

ข้อตกลง SPS นั้นจะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอาหารโดยกำหนดการทำงานเพื่อให้ประเทศสมาชิกนำไปจัดทำให้สอดคล้องกับมาตรการนี้ มาตรการ SPS จะต้องมีพื้นฐานทางวิทยาศาตร์และมีการนำไปใช้อย่างเท่าเทียมกันและโปร่งใส รวมทั้งไม่อาจใช้เป็นข้อกีดกันที่ไม่เป็นธรรมทางการค้า
ข้อตกลง SPS จะช่วยกระตุ้นรัฐบาลให้วางพื้นฐานมาตรการระดับชาติให้สอดคล้องกับมาตรฐาน แนวทางปฏิบัติและข้อแนะนำที่พัฒนาขึ้นโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดทำมาตรฐานสากล เพื่อเป็นการสนับสนุนการผลิตอาหารที่ปลอดภัยสำหรับตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ข้อตกลง TBT มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการใช้ข้อกำหนดทางเทคนิคระดับชาติหรือระดับภูมิภาค หรือมาตรฐานทั่วไปเพื่อเป็นสิ่งกีดกันทางเทคนิคที่ไม่เป็นธรรมต่อการค้า ข้อตกลงจะครอบคลุมมาตรฐานทุกชนิด รวมทั้งข้อกำหนดทางด้านคุณภาพของอาหาร ยกเว้นความต้องการที่เกี่ยวกับมาตรการ SPS และจะรวมถึงมาตรการต่าง ๆ ที่จัดทำขึ้นเพื่อปกป้องผู้บริโภคจากการหลอกลวงในเชิงเศรษฐศาสตร์ (economic fraud)

ข้อตกลง TBT เน้นให้ใช้มาตรฐานสากล ดังนั้นสมาชิกของ WTO จึงควรนำมาตรฐานสากลไปใช้ทั้งหมดหรือบางส่วน ยกเว้นเมื่อมาตรฐานสากลนั้นไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในประเทศ
มาตรฐานแนวทางปฏิบัติและข้อแนะนำอื่น ๆ ของ Codex จะเป็นพื้นฐานสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภคภายใต้ข้อตกลง SPS โดยที่ผ่านมาแม้ว่ามาตรฐานและแนวทางปฏิบัติตลอดจนข้อแนะนำของ Codex ไม่ได้รับความสำคัญและไม่ดคยคุ้มครองผู้บริโภคตลอดจนในการค้าระหว่างประเทศ แต่ปัจจุบันงานของคณะกรรมาธิการ Codex ซึ่งรวมทั้งแนวทางปฏิบัติสำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ได้นำมาใช้เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับเป็นข้อกำหนดด้านความปลอดภัยของอาหารระหว่างประเทศ ดังนั้นแนวทางปฏิบัติในการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ของ Codex จะต้องชัดเจน มิฉะนั้นอาจเกิดข้อขัดแย้งด้านความปลอดภัยของอาหารขึ้น

5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

การกำหนดวัตถุประสงค์

เป็นการนำ เอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัย ได้แล้ว การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง     2. กำหนดแนวทางของการวิจัย

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร