ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ISO/TS 16949 มาตรฐานข้อกำหนดเฉพาะทางเทคนิคเเละแนวทางของข้อกำหนดระบบบริหารงานคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์

ISO/TS 16949 คืออะไร 

            TS 16949 เป็นมาตรฐานข้อกำหนดเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specification: TS) ที่เป็น แนวทางของข้อกำหนดระบบบริหารงานคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก ถูกจัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่าง TC 176 (คณะกรรมการวิชาการด้านเทคนิคชุดที่ 176 Automotive Task Group : ATG) , IATF (คณะทำงานยานยนต์ระหว่างประเทศ) และ JAWA (สมาคมผู้ผลิตยานยนต์ของญี่ปุ่น) ซึ่งมาตรฐานดังกล่าวนับได้ว่าเป็นมาตรฐานนานาชาติที่ทันสมัยและดีที่สุดสำหรับกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันมาตรฐาน ISO/TS 16949 ถูกพัฒนาจัดทำขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานของข้อกำหนด ISO 9001 ซึ่งได้เพิ่มเติมข้อกำหนดเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติงาน และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง 

ทำไมต้องทำ ISO/TS 16949 และทำแล้วได้ประโยชน์อะไร

  • ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าที่ส่งถึงมือผู้ใช้รถทั่วโลก 
  • ด้วยโครงสร้างที่ผู้ตรวจประเมินแบบ Third-Party ต้องลงทะเบียนไว้กับ IAFT ทำให้เกิดความเหนียวแน่นระดับโลก 
  • คุณภาพสินค้าและกระบวนการผลิตได้รับการพัฒนาดีขึ้น 
  • ลดต้นทุนการผลิตจากปริมาณของเสียที่ลดลง
  • เพิ่มความมั่นใจสำหรับการค้นหาชิ้นส่วนจากทั่วโลกว่าได้มาตรฐานเดียวกัน 
  • ทำให้ซัพพลายเออร์มีคุณภาพการทำงานที่ดีขึ้น 
  • ระบบคุณภาพเดียวกันช่วยให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเหนียวแน่นในห่วงโซ่อุปทานซัพพลายเออร์/ซัพคอนเทรกเตอร์ 
  • ลดระบบการตรวจประเมินโดย second party 
  • เป็นภาษากลางทำให้เข้าใจความต้องการด้านคุณภาพกันมากขึ้น 

การให้คำปรึกษาโดยครีซิทีฟ

            ขั้นตอนการให้คำปรึกษามี 7 ขั้นตอน ดังตาราง โดยใช้เวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงได้รับใบรับรอง ประมาณ 8-10 เดือน (ขึ้นอยู่กับความต้องการและความพร้อมของบุคลากร) มากกว่านั้น เรายังช่วยลูกค้าต่อเนื่องตลอดอายุการรักษาและดูแลระบบอีกอย่างน้อย 3 ปี



เฟส
 กระบวนการ
 กิจกรรม
 สิ่งที่ได้จากการให้คำปรึกษา (Deliverables)
1
การวางแผน และการออกแบบระบบ (Planning and BMS Design)
  • Kick-off
  • จัดทำ Implementation plan ทั้งโครงการ
  • จัดตั้งคณะทำงาน
  • การวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap analysis)
  • จัดทำ/ทบทวนแผนผังกระบวนการธุรกิจ (Business model / process map)
  • จัดทำแผนคุณภาพและธุรกิจ (BMS control plan)

  • มีทีมทำงาน และแผนการดำเนินงานโครงการ
  • การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบและบทบาทสำหรับผู้บริหารและทีมทำงานในการทำโครงการ
  • รายการเอกสารที่จำเป็นที่ต้องจัดทำ พร้อมแผนการจัดทำ ทบทวนและอนุมัติใช้
  • นโยบาย กำหนดตัวชี้วัด เป้าหมาย และจัดทำแผนกลยุทธ์

2
การฝึกอบรม (Training)
  • อบรมหลักสูตรการตีความหมายข้อกำหนด ISO/TS16949 และการนำไปปฏิบัติ
  • อบรมการวิธีการจัดทำและการควบคุมเอกสาร
  • อบรมหลักสูตร Automotive core tools (APQP, PPAP, FMEA,SPC and MSA)
  • อบรมหลักสูตร ISO/TS16949 Internal Quality Audit 

  • พนักงานได้รับการอบรมและมีความเข้าใจในข้อกำหนดของมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง รู้จักเครื่องมือและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
3
การจัดทำเอกสาร (Documentation)
  • จัดทำเอกสารคู่มือคุณภาพและธุรกิจ (Quality/Business Manual)
  • จัดทำ/ทบทวนเอกสารระเบียบปฏิบัติ (Procedures), คู่มือปฏิบัติงาน (Work instructions) และแบบฟอร์มต่างๆ

  • คู่มือคุณภาพและธุรกิจ หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • เอกสารระเบียบปฏิบัติ แผนผังขั้นตอนการทำงาน ที่เน้น Process approach
  • คู่มือปฏิบัติงานพนักงาน
  • แบบฟอร์ม แผ่นงาน และรายการตรวจสอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

4
การปฏิบัติ (Implementation)  
  • อนุมัติเอกสารในระบบและนำไปปฏิบัติใช้
  • ประกาศใช้นโยบายและวัตถุประสงค์คุณภาพ/ธุรกิจ
  • ลงมือปฏิบัติ
  • ดำเนินการตรวจติดตามภายใน (Internal Audit)
  • ทำการทบทวนผลการดำเนินงาน (Management review)

  • การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผล
  • การมุ่งเน้นเพื่อปรับปรุงองค์กรให้ได้ตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
  • มีบันทึกหลักฐานผลการดำเนินงาน (Objective evidences)

5
การตรวจประเมินความพร้อม(Readiness Assessment) 
  • ดำเนินการตรวจประเมินความสอดคล้องกับข้อกำหนดโดยทีมงานที่ปรึกษา
  • แก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

  • ความสอดคล้องต่อข้อกำหนดมาตรฐาน และระเบียบปฏิบัติภายในขององค์กร
  • องค์กรมีความพร้อมในการตรวจรับรองจริง

6
การรับรองระบบ (Certification)
  • ติดต่อและเลือกหน่วยงานที่ให้การรับรองระบบ (C.B)
  • จัดส่งเอกสารให้ C.B ทบทวนและตรวจสอบ
  • Pre-assessment โดย C.B
  • Certification assessment โดย C.B
  • แก้ไขสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (ถ้ามี)

  • การผ่านการตรวจเพื่อรับรองระบบ และขึ้นทะเบียนโดยผู้ตรวจประเมิน
7
การบำรุงรักษาระบบ (Business/Quality System Maintenance) 
  • การเยี่ยมชมโดยที่ปรึกษาเพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และรักษาระบบอย่างยั่งยืน
  • การวัดประเมินผลตอบแทนทางการเงิน
  • การอบรมหรือ  update เครื่องมือและข่าวสารใหม่ๆ

  • การวัดประสิทธิผลและผลประโยชน์ที่องค์กรได้รับจากการทำโครงการ
  • คำแนะนำจุดที่สามารถนำมาปรับปรุงองค์กรเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

การกำหนดวัตถุประสงค์

เป็นการนำ เอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัย ได้แล้ว การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง     2. กำหนดแนวทางของการวิจัย

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร