ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

GMP - Good manufacturing practice

หลักเกณฑ์ 

           หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต (GMP) คือ ข้อกำหนด ระเบียบ แบบแผน และวิธีปฏิบัติที่นำมาใช้ในการผลิตที่ดีและได้สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งครอบคลุมถึง สถานที่ผลิต อุปกรณ์เครื่องจักร บุคลากร วัสดุ เอกสารต่าง ๆ และสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการผลิตทุกขั้นตอน ตั้งแต่การนำวัตถุดิบเข้าในสถานที่ผลิต ผ่านขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ และการตรวจสอบคุณภาพ การบรรจุ การเข้าหีบห่อ ตลอดจนการจัดเก็บ จนได้เป็นสินค้าสำเร็จรูปและออกจำหน่ายแก่ประชาชน
                    GMP มีหลักการผลิตยาด้วยความมั่นใจว่า ได้มาตรฐานตรงตามที่กำหนดไว้ เรียกว่า " ผลิตอย่างมีคุณภาพที่ตรวจสอบได้" หรือ "Quality that must be built-in and tested " สำหรับสินค้ายา คุณภาพ หมายถึง ยาสำเร็จรูปที่มีปริมาณตัวยา รูปแบบ การปลดปล่อยตัวยา ความคงสภาพ ประสิทธิผลการรักษา ฯลฯ ตรงตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขซึ่งผู้ประกอบการผลิตยาจะต้องทำได้ตามนั้นทุกครั้ง ซึ่งน่าจะเป็นมาตรฐานที่กำหนดมากกว่าจะเรียกเป็นคุณภาพ แต่คุณภาพตัวยาตามความเข้าใจของประชาชนหมายถึง ยารักษาโรคให้หายได้ ขณะที่แพทย์ อย. และหน่วยงานจัดซื้อจะใช้ GMP เป็นสื่อกลางแสดงถึงซึ่งคุณภาพมาตรฐานของยาที่ผลิตได้

ที่มาของ GMP
             
            ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่นำหลักเกณฑ์ GMP มาใช้ซึ่งเสนอโดยภาคอุตสาหกรรมผลิตยาให้เป็นมาตรการสมัครใจต่อองค์การอาหารและยา (Food and Drug Asministration หรือ FDA ) ต่อมา FDA ได้พิจารณาและออกเป็นกฎหมายในปี 2506 ใน GMP มีสาระสำคัญว่าด้วย กฎเกณฑ์ปฏิบัติ และการกำกับดูแล อันได้แก่ การปรับปรุงโรงงาน เครื่องจักร การผสมหรือแปรรูปยา การบรรจุและจัดเก็บยา ฯลฯ ในปี 2522 FDA ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น c-GMP (Current GMP) ตามเกณฑ์มาตรฐานและเทคโนโลยีการผลิตที่เปลี่ยนไป โดยมีสาระสำคัญเพิ่มเติมว่า "ผลิตภัณฑ์ยาทุกชนิดจะถือว่า ถูกปลอมปน (Adulterated) ถ้ากรรมวิธีการผลิตทุกขั้นตอนตั้งแต่ ผสม แปรรูป บรรจุและจัดเก็บยาตลอดจนอาคารสถานที่ผลิตและการควบคุมคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน GMP" ดังนั้น ยาที่ผลิตได้จะต้องผ่านการตรวจสอบเริ่มตั้งแต่ การพิสูจน์เอกลักษณ์ (identity) การหาปริมาณยา (Content) การทดสอบคุณภาพ (Quality) ความบริสุทธิ์ (Purity) และการปลดปล่อยยา (Drug Release) ฯลฯ ปัจจุบัน GMP ได้กลายเป็นบรรทัดฐานสากลของ "การผลิตสินค้าที่ดีและมีคุณภาพ" โดยมีหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ตรวจสอบและออกประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐานการผลิตให้เป็นปีต่อปี

GMP ของประเทศไทย

               รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ออก พรบ.ยา พ.ศ. 2510 (กฎหมายยา) ระบุให้ผู้ประกอบการต้องมีสถานที่ผลิตยาของตนเอง ซึ่งจะต้องมีขนาดพื้นที่ขั้นต่ำ 4x4 ตารางเมตรต่อห้องและต้องแยกเป็นสัดส่วน และยังต้องวิเคราะห์หาปริมาณตัวยาให้ได้ตามสูตรที่ผลิตยาได้เองด้วย หลักเกณฑ์ดังกล่าวถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของ GMP ต่อมาในปี 2522 อย. ได้เริ่มนำหลักเกณฑ์ GMP มาใช้กับโรงงานผลิตยา (ปีเดียวกับ FDA สหรัฐได้เปลี่ยนมาใช้มาตรฐาน c-GMP ) เพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ และในปี 2527 อย. ได้รณรงค์ให้ภาคอุตสาหกรรมยาสนใจและปรับปรุงมาตรฐานการผลิตยาอย่างจริงจัง และยังได้ออกเอกสาร "หลักเกณฑ์วิธีที่ดีในการผลิต" เป็นเล่มแรกในปี 2530 และในปี 2532 ได้ออกประกาศนียบัตร GMP หรือ "GMP Certificate" ให้กับผู้ประกอบการที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน GMP รวมทั้งสิ้น 58 โรงงาน ในปัจจุบัน มีโรงงานที่ได้ GMP มากกว่า 130 โรงงาน และในปี 2544 อย. ได้ใช้ GMP ฉบับใหม่ซึ่งยึดตามหลักของ WHO (World Health Organization) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลแล้วการที่ไทยใช้มาตรฐาน GMP ในระดับเดียวกับ WHO (World Health Organization) ไทยจึงน่าจะได้ประโยชน์จากการขยายตลาดยาในอาเชียนเมื่อใช้มาตรฐานการขึ้นทะเบียนยาอาเชียน เพราะยาไทยมีมาตรฐานสูงและเป็นที่ยอมรับของประเทศสมาชิกอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ประเทศมาเลเชีย สิงคโปร์ อินโดนีเชีย และฟิลิปปินส์ ก็มีขีดความสามารถใกล้เคียงกับไทยเช่นกัน อนึ่ง อย. ยังได้ออกมาตรฐาน GMP สำหรับยาแผนโบราณ อาหาร และเครื่องสำอาง และยังใช้มาตรฐานป้องกันอันตรายจากการปนเปื้อน HACCP (Hazard Analysis and Critical Point) สำหรับอุตสาหกรรมอาหารส่งออก เพื่อให้มั่นใจว่า ได้ใช้วิธีการผลิตที่สะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรคและสารเคมีตกค้างในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับบริโภคทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย
                    ตามแนวแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5,6 และ 7 (พ.ศ. 2525-2529, พ.ศ. 2530-2534 และ พ.ศ. 2535-2539 ตามลำดับ) ส่วนแผนงานคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 8 ( พ.ศ. 2540 - 2544 ) ได้กำหนดให้มีการยกระดับมาตรฐานการผลิตยาภายในประเทศขึ้นโดยมีมาตรการบังคับให้ผู้ผลิตนำเอาหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา (GMP) มาใช้อย่างจริงจัง เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในคุณภาพมาตรฐานของยาที่ผลิตขึ้น ผลการดำเนินงานพบว่า ยาที่ผลิตภายในประเทศมีคุณภาพมาตรฐานดีขึ้น และมีปัญหายาผิดมาตรฐานในท้องตลาดลดลง ส่วนแผนฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ได้ใช้คำว่า "ผลิตภัณฑ์สุขภาพ" แทนสินค้าที่กระทรวงสาธารณสุขดูแลทั้งหมด

สาระสำคัญของ GMP

             การผลิตยาที่ดีจะต้องสามารถป้องกันการปนเปื้อน (Contamination) และการปลอมปน (Adulteration) จากสิ่งที่ไม่ต้องการอย่างได้ผลตลอดทุกขั้นตอน การผลิตก็จะต้องผลิตให้ได้เหมือนกันและอย่างเดียวกันทุกครั้งเพื่อรักษาคุณภาพมาตรฐาน สะอาดและปลอดภัยต่อการใช้ยา ดังนั้น ข้อกำหนดต่าง ๆ จะต้องครอบคลุมในรายละเอียดอย่างพอเพียงและมีความหมายที่ชัดเจนใน GMP จะมี 7 ข้อในข้อที่จะต้องให้ความสำคัญมากที่สุด คือข้อกำหนดของ GMP
ข้อกำหนด
คำอธิบาย
(1)  คำนิยาม(Definition หรือเรียกเป็น Glossary of Terms)
เป็นความหมายของศัพท์ด้านยาที่ใช้เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานอ่านและมีความเข้าใจตรงกัน อาทิเช่น Batch หรือ Lot คือ ปริมาณที่ผลิตตามกำลังการผลิตจริงแต่ละครั้ง 
(2) อาคารสถานที่ผลิต (Premises)
แบ่งเป็นสัดส่วนแยกจากกัน ในแต่ละส่วน พื้น เพดาน ผนัง รอยต่อของฝาและเพดานต้องเรียบและไม่มีมุมหรือรอยแตกจนเป็นที่หมักหมมของฝุ่นละออง ชนิดของวัสดุที่ใช้ก่อสร้างต้องคงทนต่อการใช้ ความสว่างของไฟฟ้าต้องเหมาะสมต่อสภาพการทำงาน ที่สำคัญคือ ต้องเป็นระบบปิดและควบคุมการถ่ายเทของอากาศ สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากภายใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในห้องผลิตยาปราศจากเชื้อ เป็นต้น ส่วนสถานที่ผลิตโดยทั่วไป ควรมีระบบท่อน้ำ สายไฟฟ้า และระบบกรองอากาศเพื่อกำจัดฝุ่นละอองที่ดี
(3)  บุคลากร(Personnel)
ต้องได้รับการอบรมเรื่องความสะอาด เป็นผู้ที่รักความสะอาดใส่ชุดปฏิบัติงานในเวลาทำงานมีหมวกคลุมผม คลุมหนวดเครา ใส่ถุงมือ ไม่ใช้เครื่องสำอาง ฯลฯ
(4)  อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ(Equipment)
ได้แก่ เครื่องจักรที่ได้รับการออกแบบให้ป้องกันการรั่วไหลของยาหรือการซึมรั่วของน้ำมันหล่อลื่นจนปนเปื้อนยาที่ผลิต มีการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เมื่อถึงเวลาใช้ และสามารถทำความสะอาดได้ง่ายเมื่อใช้เสร็จแล้ว นอกจากนี้ ต้องมีแผนผังระบุตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องมือในสถานที่ผลิตอย่างชัดเจน
(5)  วัตถุดิบ (Raw Materials)
ต้องจัดซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือและมีเอกสารรับรองผลการวิเคราะห์ตามเภสัชตำรับPharmacopoeia) และคุณภาพมาด้วยทุกครั้ง สภาพภายนอกของภาชนะบรรจุ มีฉลากระบุชื่อวัตถุดิบรวมทั้งน้ำหนักหรือปริมาณก่อนรับวัตถุดิบ การรับวัตถุดิบทุกครั้งจะต้องมีการทำบันทึกผลและตรวจสอบคุณภาพทุกครั้ง เป็นต้น
(6)  การจัดทำและการจัดระบบเอกสารต่าง ๆ (Documentation)
พนักงานต้องบันทึกผลงานในเอกสารและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ด้วย(Traceability) การบันทึกจะไม่ใช้ดินสอเขียนและเมื่อเขียนผิดให้ฆ่าแล้วลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะเขียนส่วนที่ถูกต้องตามลงไป สำหรับระบบเอกสารควรประกอบด้วยเอกสารเกี่ยวกับการจัดซื้อ การผลิต สูตรการผลิต การทำความสะอาด การขาย การรับยาคืน ฯลฯ
(7)  การควบคุมคุณภาพ  (Quality Control)
ต้องมีห้องหรือหน่วยวิเคราะห์ยา สามารถตรวจสอบคุณภาพและความบริสุทธิ์ของวัตถุดิบตลอดจนยาสำเร็จรูปได้เป็นอย่างดี ส่วนวิธีการตรวจสอบควบคุมคุณภาพจะทำตามเภสัชตำรับที่ใช้อ้างอิงและได้รับการยอมรับแล้ว เช่น USP (United States Pharmacopoeia) หรือ TP (Thai Pharmacopoeia) เป็นต้น



การลงทุนเพิ่มภายใต้หลักเกณฑ์ของ GMP สากล                 

          การปรับปรุงสถานที่ผลิตให้ได้มาตรฐาน GMP จะต้องมีการลงทุนใหม่นี้มิได้ทำให้ผู้ผลิตสามารถขายได้กำไรมากขึ้นโดยตรง (โดยทั่วทั่วไป การลงทุนเพิ่มมักจะมีที่มาจากการคาดการณ์ว่ายอดขายจะสูงขึ้นตามมาทั้งนั้น) แต่ก็มีผลดีอย่างยิ่งต่อการทำให้เกิดความมั่นใจว่า ยาที่ผลิตจะมีคุณภาพเหมือนกันทุกครั้ง อนึ่ง การที่มี GMP ไม่ได้เป็นสื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงถึงคุณภาพได้ดี เพราะผู้บริโภคไม่สมารถตรวจสอบคุณภาพได้เอง แต่การมีประกาศนียบัตรรับรอง GMP และใช้เป็นสื่อความหมายที่ถูกต้องจะได้รับการเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงใช้ GMP ฉบับใหม่ก็อาจกลายเป็นปัญหาของการลงทุนขนาดใหญ่เพื่อยกระดับการผลิตให้ได้มาตรฐานที่เข้มงวดสูงขึ้นเรื่อง ๆ เช่น การลงทุนปรับปรุงตัวอาคาร สิ่งก่อสร้างและเปลี่ยนเครื่องจักรไปเรื่อย ๆ (เป็นไปตามลักษณะของ c-GMP ของสหรัฐ) และเมื่อมีการเปิดเสรีการค้ายาได้ ASEAN ก็อาจมีการรับรองให้นำ ASEAN GMP ปี 1996 มาบังคับใช้กับการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาในอาเซียนอีกด้วยก็ได้ และร่างหนังสือ “ASEAN Operational Manual for lmplementation of GMP, Edition 2000” ก็อาจถูกนำมาใช้อ้างอิงเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมต่อไปก็ได้
                    กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวลงทุนเพิ่มตามไปเรื่อย ๆ และการปฏิบัติตาม ASEAN Operational Manual for lmplementation of GMP มีความชัดเจนว่าจะต้องทำเช่นนั้นหากจะขยายตลาดยาเข้าสู่ตลาดอาเซียน ผลสะท้อนที่เกิดขึ้นในอนาคตคือ ยาดีมีคุณภาพอาจมีราคาแพงด้วยในที่สุด


การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา (Good Manufacturing Practices)

             หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาฉบับปี 2545 เป็นหลักเกณฑ์ในระดับเดียวกับองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) โดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาวะอุตสาหกรรมยาในประเทศ และถือเป็นกฎหมายที่ผู้ผลิตยาต้องปฏิบัติ ซึ่งในปี 2544 – 45 มีทั้งสิ้น 131 รายที่ได้ GMP (ข้อมูลจากกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) แต่ก็มีโรงงานอีกประมาณ 40 รายที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจ GMP ซึ่งจะถูกบังคับให้แก้ไขปัญหาปรับปรุงได้ ซึ่งทางกองควบคุมยามีโครงการจะจัดการสัมมนา เผยแพร่ สร้างความเข้าใจ และให้ความช่วยเหลือ แต่ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องเข้าร่วมแก้ไขเพื่อให้สามารถปฏิบัติตาม GMP ด้วย


เกณฑ์การตรวจประเมินสถานที่ผลิตแผนปัจจุบัน
                   
                    การตรวจประเมินเพื่อออกหรือต่ออายุหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิต (GMP Certificate) ให้กับสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบันของประเทศไทย ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 นั้น ใช้ระบบการให้คะแนนในหัวข้อต่าง ๆ ตามที่คณะกรรมการส่งเสริมทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตยา (Quality Improvement Team : QIT) ได้จัดทำหลักเกณฑ์และข้อกำหนดเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ไว้ในหนังสือคู่มือการประเมินผลมาตรฐานการผลิตของสถานที่ผลิตยา (คู่มือการตรวจ GMP ) ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเกณฑ์การตรวจประเมิน GMP ยา ให้มีความสอดคล้องกับข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก ฉบับปี ค.ศ. 1992 ให้มากยิ่งขึ้น โดยได้แบ่งหมวดการประเมินและกำหนดหัวข้อที่จะต้องพิจารณาไว้ในแต่ละหมวด ดังนี้
                    (1) หมวดทั่วไป เป็นส่วนที่พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องอาคารสถานที่ การควบคุมวัตถุดิบและวัสดุการบรรจุ ระบบการเรียกเก็บยาคืน บุคลากร การควบคุมของเสีย ระบบเอกสารต่างๆ
                    (2) หมวดยาผง มีเกณฑ์การพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ผลิต อุปกรณ์การผลิต การดำเนินการผลิต การควบคุมระหว่างการผลิต บันทึกการผลิตและบันทึกการบรรจุ
                    (3) หมวดยาเม็ด มีเกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกับหมวดยาผง
                    (4) หมวดยาแคปซูล มีเกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกับหมวดยาผง
                    (5) หมวดยาน้ำ มีเกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกับหมวดยาผง
                    (6) หมวดยาขี้ผึ้งหรือครีม มีเกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกับยาผง
                    (7) หมวดยาสูดดม มีเกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกับหมวดยาผง
                    (8) หมวดยาเหน็บ มีเกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกับหมวดยาผง
                    (9) หมวดพลาสเตอร์ยา มีเกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกับหมวดยาผง
                    (10) หมวดยาปราศจากเชื้อ จะพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ผลิตซึ่งจะต้องเป็นบริเวณสะอาดอุปกรณ์การผลิต สุขลักษณะ การดำเนินการผลิต การทำให้ปราศจากเชื้อ เป็นต้น
                    (11) หมวดการควบคุมคุณภาพ จะพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องระบบการควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบ ห้องปฏิบัติการต่างๆ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ บันทึกข้อมูลต่างๆ เป็นต้น
 
                    โดยที่ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันแต่ละแห่งที่ประสงค์จะขอรับหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิต สามารถที่จะขอรับการตรวจประเมินในหมวดการผลิตยาหมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องขอรับการตรวจประเมินการผลิตยาครบทุกหมวดตามที่ตนได้รับอนุญาต
เกณฑ์การให้คะแนน
                    การตรวจประเมินสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบันแต่ละแห่ง คณะผู้ตรวจกระทำการศึกษาข้อมูลแม่บทของสถานที่ผลิตยา (Plan Master File) ล่วงหน้า และวางแผนการตรวจประเมินว่าจะแบ่งคณะผู้ตรวจออกเป็นกี่ทีม ทีมไหนเป็นผู้ตรวจประเมินในหมวดยาใด มีหัวข้ออะไรบ้างที่จะตรวจประเมินเป็นพิษ ซึ่งเมื่อเดินทางไปถึงยังสถานที่ผลิตยาแล้วจะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ของโรงงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อนำการตรวจเยี่ยมการปฏิบัติในแต่ละระบบว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยาหรือไม่ โดยผู้ตรวจจะทำการบันทึกรายละเอียดของการปฏิบัติงาน หรือข้อเท็จจริงที่ตรวจพบซึ่งเห็นว่าไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดต่าง ๆ ไว้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำรายงานผลการตรวจ GMP เมื่อเสร็จสิ้นการตรวจประเมิน พร้อมกันนี้ผู้ตรวจจะได้พิจารณาเปรียบเทียบกับข้อกำหนดต่าง ๆ ในเกณฑ์การตรวจประเมินสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบันตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา ซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขในการพิจารณาระดับคะแนนไว้ในแต่ละหัวข้อที่ทำการตรวจประเมิน ดังนี้
                    0 หมายถึง ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน เนื่องจากมีการปฏิบัติงานหรือมีข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในลักษณะที่เป็นข้อบกพร่องวิกฤติ (Critical defect)
                    1 หมายถึง ต้องแก้ไข เนื่องจากมีการปฏิบัติงานหรือมีข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในลักษณะที่เป็นข้อบกพร่องที่รุนแรง (Major defect)
                    2 หมายถึง พอใช้ แต่พบว่ามีการปฏิบัติงานหรือมีข้อเท็จจริงที่ตรวจพบ ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดในลักษณะที่เป็นข้อบกพร่องเล็กน้อย (Minor defect)
                    3 หมายถึง ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดไม่ดีพอสมควร แต่ยังมีบางส่วนที่สามารถพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ได้ดียิ่งขึ้น
                    4 หมายถึง ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดได้ถูกต้อง ครบถ้วน
                    N/A หมายถึง ไม่มีการประเมินในหัวข้อดังกล่าว
                    นอกจากนี้คณะอนุกรรมการส่งเสริมทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรฐานการผลิตยา (Quality Improvement Team : QIT) ยังได้จัดทำหลักเกณฑ์และข้อกำหนดการตรวจประเมินผลสถานที่ผลิตเภสัชเคมภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการพิจารณาออกหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตสำหรับผู้ผลิตเภสัชเคมีภัณฑ์ไว้ด้วย
เงื่อนไขในการพิจารณาออกหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตยา
                    เมื่อได้คะแนนเฉลี่ยแต่ละหมวดที่ทำการตรวจประเมินแล้ว จะนำคะแนนดังกล่าวมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่จะถือว่าหมวดดังกล่าวผ่านเกณฑ์การประเมิน และสามารถนำไปคำนวณหาค่าคะแนนเฉลี่ยรวมของโรงงานได้หรือไม่ ดังนี้
                    (1) หมวดทั่วไปและหมวดการควบคุมคุณภาพ ถือได้ว่าเป็นหมวดการประเมินที่เป็นเกณฑ์ภาคบังคับ ซึ่งสถานที่ผลิตยาทุกแห่งจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยในแต่ละหมวดดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 2.00 และไม่มีหัวข้อใดในแต่ละหมวดได้คะแนนเป็น 0 จึงจะถือว่าทั้งสองหมวดดังกล่าวผ่านเกณฑ์การแระเมิน และมีสิทธิที่จะนำคะแนนไปคำนวณหาค่าคะแนนเฉลี่ยรวมของโรงงานต่อไป
                    กล่าวโดยสรุปก็คือ หากผลการตรวจประเมินในหมวดทั่วไป และหมวดการควบคุมคุณภาพไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น จะถือว่าสถานที่ผลิตยาแห่งนี้ไม่สามารถขอ หรือต่ออายุหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตยา (GMP Certificate) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้
                    (2) หมวดยาที่ทำการผลิต หมายถึงหมวดยาผง ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาน้ำ ยาขี้ผึ้งหรือครีม ยาสูดดม ยาเหน็บ พลาสเตอร์ยา และยาปราศจากเชื้อ ที่ผู้ผลิตประสงค์จะขอให้ระบุไว้ในหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตยาว่า สถานที่ผลิตยาของตนมีหมวดยาใดบ้างที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตยาจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
                    ซึ่งหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าหมวดยาใดจะผ่านการประเมินหรือไม่ ให้ดูจากคะแนนเฉลี่ยของหมวดนั้นว่าจะต้องได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.00 และไม่มีข้อใดข้อหนึ่งได้คะแนนเป็น 0 จึงจะถือว่าหมวดยาดังกล่าวผ่านเกณฑ์การประเมิน
                    จากนั้นจะนำเอาเฉพาะคะแนนเฉลี่ยแต่ละหมวดที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน มาคำนวณหาค่าคะแนนเฉลี่ยรวมของโรงงานดังนี้
คะแนนเฉลี่ยรวมของโรงงาน = ผลรวมของคะแนนเฉลี่ยหมวดที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
                                                       จำนวนหมวดทั้งหมดที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน
ประเภทของหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตยา                    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้จัดแบ่งประเภทของหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตยา (GMP Certificate) ออกเป็น 2 ลักษณะ ตามค่าคะแนนเฉลี่ยรวมของโรงงานที่ได้จากการตรวจประเมินในแต่ละครั้ง ดังนี้
                    (1) หนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตยา (GMP Certificate) ที่มีอายุ 2 ปี พิจารณาจากผลคะแนนเฉลี่ยรวมของโรงงานจะต้องได้คะแนนเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 คะแนน
                    (2) หนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตยา (GMP Certificate) ที่มีอายุ 1 ปี พิจารณาจากผลคะแนนเฉลี่ยรวมของโรงงานจะต้องได้คะแนนเท่ากับหรือสูงกว่า 2.00 แต่ไม่ถึง 3.00 คะแนน
*2 เอกสาร เกณฑ์การตรวจประเมินสถานการณ์ ผลิตยาแผนปัจจุบัน ตามหลักการวิธีที่ดีในการผลิตยา


5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร

Survey Research หรือ การวิจัยเชิงสำรวจ

เป็นเทคนิคการวิจัยซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของประชากรเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดในการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม ผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจแสดงถึงเทคนิคการออกแบบพื้นฐาน 4 ประการ ที่ใช้ใน การวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงเหตุผล ดังวิธีการ ดังนี้ 1. การสำรวจ ( Survey) 2. การทดลอง ( Experiments) 3. การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือข้อมูลประวัติศาสตร์ ( Historical data) 4. การสังเกต ( Observation techniques) การเขียนแบบสอบถามการกำหนดรายการของคำถามการออกแบบคำถามที่มีการจัดพิมพ์หรือเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นลักษณะของการพัฒนาการออกแบบงานวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจอาจใช้โทรศัพท์ จดหมาย หรือใช้บุคคลสัมภาษณ์ก็ได้ การทดลอง ( Experiments) การทดลองจะใช้มากในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล( Cause-and-effect relationships)   การทดลองเป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรหนึ่ง หรือหลายตัวแปรเพื่อวัดผลกระทบต่อตัวแปรตาม เช่น การวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการออกจากงาน การขาดงานหรือการมาสาย การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือ ข้อมูลประวัติศาสต