ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การวิจัยในชั้นเรียน

การวิจัยในชั้นเรียน

              การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน  เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน  หลังจากที่ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจนได้ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์แล้ว  การเขียนรายงานการวิจัยโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการวิจัยเผยแพร่    ให้ผู้สนใจได้ศึกษา  รับรู้  นำรูปแบบวิธีการดำเนินงานและผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติงาน  รวมทั้งเพื่อเสนอเป็นผลงานทางวิชาการสำหรับขอเลื่อนและกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นด้วย  แต่การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนไม่ได้ให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว  แต่เป็นการเขียนเพื่อบันทึกรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือนวัตกรรมที่คิดค้นแสวงหามาใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนของตนเอง  และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูด้วยกัน  องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยในชั้นเรียนไม่สามารถนำไปใช้อ้างอิงเป็นทางการหรือเป็นสากลได้  เพราะเป็นองค์ความรู้ที่ใช้ได้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวนน้อยที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชากรโดยทั่วไป  ตลอดจนวิธีการดำเนินการวิจัยก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นทางการ หรือความเป็นสากลมากนัก  ดังนั้น ความเชื่อถือได้ของการวิจัยในชั้นเรียน จึงมักไม่เป็นที่ยอมรับของนักวิจัยหรือนักวิชาการโดยทั่วไปเท่าที่ควร  นอกจากว่าครูผู้ทำการวิจัยในชั้นเรียนจะพยายามปรับเปลี่ยนวิธีดำเนินงานให้มีความเป็นสากล  และมีความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น

องค์ประกอบของรายงานการวิจัยในชั้นเรียน
            โดยทั่วไปแล้วในรายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครู ประกอบด้วย
 1) วัตถุประสงค์ของการวิจัย 
2) วิธีการดำเนินการวิจัย 
3) ผลการวิจัย 
4) ข้อสังเกตหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม
5) สิ่งที่ต้องศึกษาต่อไป 

         ประเด็นที่น่าสนใจ  และแนวทางในการวิจัยต่อไป  หรือควรประกอบด้วย  1) บทนำ (ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  และวัตถุประสงค์ของการวิจัย)  2) แนวคิดที่สำคัญ (และสมมุติฐาน) ของการวิจัย 3) วิธีดำเนินการวิจัย (ตัวแปร  กลุ่มตัวอย่าง  เครื่องมือ  และวิธีการเก็บข้อมูล)  4) การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย และ 5) สรุปผล  อภิปราย  และข้อเสนอแนะ   จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของรายงานการวิจัยในชั้นเรียนมีลักษณะที่ไม่ยึดรูปแบบของรายงานการวิจัยโดยทั่วไปมากนัก  รายงานเฉพาะประเด็นที่สำคัญเท่านั้น  สุวิมล  ว่องวาณิช  (2543: 182)  ได้สรุปว่าการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนไม่ใช่การวิจัยที่ยากเกินความสามารถของครู      ทุกคนสามารถทำได้ถ้ามีความมุ่งมั่นที่จะทำ และเมื่อตัดสินใจที่จะทำแล้ว  ก็ไม่ต้องกังวลว่าวิธีการวิจัยที่ใช้จะไม่ถูกต้องตามหลักวิชา  เพราะหลักการของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนคือการทำวิจัยเพื่อนำผลไปแก้ปัญหา  เมื่อใดที่ปัญหาในห้องเรียนหมดไป  ครูนักวิจัยไม่ต้องกังวลหรือสงสัยว่าวิธีการแก้ปัญหาที่เลือกขึ้นมาใช้  มีอิทธิพลส่งผลให้ปัญหาหมดไปจริงหรือไม่  ไม่ต้องกลัวการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับวิธีวิทยาการวิจัย  การทำวิจัยคือการแก้ปัญหา  ไม่ใช่การสร้างหรือทดสอบความแกร่งของทฤษฎี ดังนั้นเพื่อให้มีความเป็นไปได้ในการเขียนรายงานการวิจัยของครู ซึ่งไม่ยากเกินไปจนทำไม่ได้  แต่ก็ไม่ง่ายเกินไปจนเชื่อถือหรือยอมรับไม่ได้ ภายใต้แนวคิดที่ว่า ถ้ารายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูเป็นรายงานที่ให้ความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหา  และครูใช้กระบวนการวิจัยที่เชื่อถือได้  รายงานการวิจัยในชั้นเรียนของครูก็เป็นรายงานการวิจัยที่ควรยอมรับได้ 

การเขียนรายงานวิจัยในชั้นเรียนจึงควรมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
                    1.  ชื่อเรื่องการวิจัย
                    2.  ปัญหาและความสำคัญของปัญหา
                    3.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                    4.  วิธีการวิจัย
                          4.1  กลุ่มเป้าหมาย
                          4.2  วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้             
                          4.3  วิธีการรวบรวมข้อมูล
                          4.4  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
                          4.5  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                    5.  สรุปและสะท้อนผล
                    รายละเอียดการดำเนินงานตามองค์ประกอบต่าง ๆ ดังกล่าวนี้  ครูได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติมาเป็นอย่างดีแล้วจากบทที่ 2  ดังนั้น  จึงไม่อยู่นอกเหนือศักยภาพของครูที่จะนำมาเขียนรายงาน
การวิจัยในชั้นเรียนของครูได้  อย่างไรก็ตาม หากคณะครูได้ร่วมกันปลดปล่อยศักยภาพของตน
ในฐานะคนในให้ออกมาอย่างเต็มที่  และเป็นอิสระจากคนนอกในการตัดสินใจแล้ว  งานวิจัยของครูก็จะมีคุณค่ามากขึ้น

หลักการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนให้น่าเชื่อถือและยอมรับได้  ควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
                    1.  ปัญหาที่นำมาวิจัยต้องเป็นปัญหาที่แท้จริง  มีข้อมูลชัดเจนว่าเป็นปัญหา  ไม่ใช่เป็นเพียงสาเหตุของปัญหา  เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ด้วยการวิจัยและเป็นองค์ความรู้ใหม่
                    2.  ชื่อเรื่องการวิจัยหรือชื่อปัญหาวิจัยต้องมีความกะทัดรัด  และชัดเจนในตัวของมันเอง  เฉพาะเจาะจงและน่าสนใจ  คำว่า  การศึกษาเกี่ยวกับการวิจัย การทดลอง การวิเคราะห์ การสำรวจ หรือการค้นหาก็ตาม  คำเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้
                    3.  วัตถุประสงค์ของการวิจัยควรใช้ภาษาที่ชัดเจน  เข้าใจง่าย  ไม่วกวน  หลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำซ้อน  นำไปสู่การตั้งสมมุติฐานและสามารถทำการทดสอบได้
                    4.  วิธีการวิจัยมีความถูกต้องมีข้อมูลครบถ้วนและถูกต้องตามความเป็นจริง  เครื่องมือ
ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล  และผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีความเที่ยงตรง
                    5.  การสื่อความหมายตั้งแต่ต้นจนจบมีความชัดเจน  สอดคล้องต่อเนื่อง  ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ดี

การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน

               การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ซึ่งเกิดขึ้นจากการค้นคว้าทดลองแสวงหาความจริงเชิงวิทยาศาสตร์อย่างใกล้ชิดในสถานการณ์จริงของครูในชั้นเรียน  หรือในโรงเรียน  ไม่มีรูปแบบการเขียนรายงานที่เป็นสากล  เน้นรูปแบบที่เรียบง่าย  ใช้การบรรยายเป็นหลักในการนำเสนอข้อค้นพบที่เป็นองค์ความรู้ใหม่จากการแก้ปัญหา  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าครูผู้วิจัยจะมีความสามารถในการบันทึกรายละเอียดขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยได้มากน้อยหรือดีเพียงใด  ดังนั้นการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนที่มีความเป็นไปได้  และอยู่ในวิสัยที่ครูผู้สอนโดยทั่วไปจะทำได้  จึงควรมีโครงสร้างและองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

ชื่อรายงาน.............................................................................................................
ปัญหา  :  ...................................................................................................................
สาเหตุ   
                    1.  ..............................................................................................................
                   2.  ..............................................................................................................
                   3.  ..............................................................................................................
วัตถุประสงค์
                    เพื่อ............................................................................................................
วิธีการวิจัย
                    1.  กลุ่มเป้าหมาย  นักเรียนชั้น......ภาคเรียนที่......ปีการศึกษา.....จำนวน.......คน
                    2.  วิธีการหรือนวัตกรรมที่ใช้
                          2.1  ชื่อนวัตกรรม...............................จำนวน...........ชุด/เรื่อง/หน่วย  ดังนี้
                                  2.1.1  ...........................................................................................
                                  2.1.2  ...........................................................................................
                                  2.1.3  ...........................................................................................
                          2.2  แผนการสอน  เรื่อง......................................................................
                          2.3  เครื่องมือวัดผลและรวบรวมข้อมูล
                                  2.3.1  ...........................................................................................
                                  2.3.2  ...........................................................................................
                                  2.3.3  ...........................................................................................
                    3.  วิธีการรวบรวมข้อมูล
                          3.1  .....................................................................................................
                          3.2  .....................................................................................................
                          3.3  .....................................................................................................
                   

                    4.  วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
                          4.1  .....................................................................................................
                          4.2  .....................................................................................................
                          4.3  .....................................................................................................
                    5.  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
                          5.1  .....................................................................................................
                          5.2  .....................................................................................................
                          5.3  .....................................................................................................                     
สรุปและสะท้อนผล
               .............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................

.............................................................................................................


5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

การกำหนดวัตถุประสงค์

เป็นการนำ เอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัย ได้แล้ว การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง     2. กำหนดแนวทางของการวิจัย

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร