ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

OHSAS 1800 - มาตรฐานเกี่ยวกับระบบบริหาร สุขภาพและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพ


                 OHSAS 18001:2007 เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับระบบบริหาร สุขภาพและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพซึ่งเป็นที่ ยอมรับ ในระดับสากล มาตรฐานนี้เผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม ปี 2007 ซึ่งมีผลบังคับใช้แทน OHSAS 18001:1999 โดยมีจุด มุ่งหมายเพื่อประกาศข้อมูลด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการ ประกอบอาชีพ (OH&S) มากกว่าการแจ้งข้อมูลความปลอดภัย ของผลิตภัณฑ์
OHSAS 18001 ให้โครงสร้างการทำงานเพื่อการบริหารงาน ด้าน OH&S อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตาม ข้อกฎหมายที่ควบคุมกิจกรรมทางธุรกิจของคุณ และระบุ อันตรายที่เกิดขึ้น


OHSAS 18001 เหมาะสมกับใครบ้าง?

             มาตรฐานนี้เหมาะสมกับองค์กรทุกแห่งที่ต้องการกำจัดหรือ ลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับพนักงานและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่อาจ รับความเสี่ยงด้าน OH&S ที่เกิดจากกิจกรรมขององค์กร
องค์กรหลายแห่งมีองค์ประกอบต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับ OHSAS 18001 อยู่แล้ว ซึ่งสามารถนำมาช่วยสร้างระบบบริหาร ที่มั่นคงยิ่งขึ้นและสอดคล้องตามข้อกำหนดของมาตรฐาน
องค์กรที่ดำเนินการตามมาตรฐาน OHSAS 18001 จะมี โครงสร้างการบริหารที่ชัดเจนซึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่และ ความรับผิดชอบ รวมถึงวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อการพัฒนา พร้อมผลลัพธ์ที่วัดได้และการประเมินความเสี่ยงอย่างมี โครงสร้าง ซึ่งประกอบด้วยการตรวจสอบข้อผิดพลาดในระบบ การบริหารสุขภาพและความปลอดภัย การตรวจสอบสมรรถนะ และการทบทวนนโยบายและวัตถุประสงค์ต่างๆ

ประโยชน์ของการจดทะเบียน OHSAS 18001 คืออะไร?

  • ความพึงพอใจของลูกค้า - จากการให้บริการผลิตภัณฑ์ ที่สนองความต้องการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมปกป้อง สุขภาพและทรัพย์สินของพวกเขา
  • ลดต้นทุนในการดำเนินการ - โดยลดการสูญเสียเวลา ในการผลิตเนื่องจากอุบัติเหตุและการเจ็บป่วย พร้อมลด ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเสียค่าธรรมเนียมและการชดเชยความ เสียหาย
  • เพิ่มความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนร่วมกับผลประโยชน์ - โดย ปกป้องสุขภาพและทรัพย์สินของพนักงาน ลูกค้า และซัพพลายเออร์
  • การปฏิบัติตามกฎหมาย - โดยการทำความเข้าใจว่ากฎข้อบังคับ ต่างๆ นั้นมีผลกระทบกับองค์กรและลูกค้าขององค์กร อย่างไร
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยง - ด้วยการระบุ อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นให้ชัดเจน และดำเนินมาตรการควบคุม และแก้ไขต่างๆ
  • เป็นการรับรองทางธุรกิจที่น่าเชื่อถือ - โดยการให้หน่วยงาน อิสระเป็นผู้ตรวจสอบรับรองกับมาตรฐานที่ผ่านการยอมรับ โอกาสในการสร้างลูกค้ามากขึ้น - โดยเฉพาะเมื่อลูกค้า ได้กำหนดเงื่อนไขในการจัดซื้อว่าจะต้องผ่านมาตรฐานใน ระดับหนึ่ง


จะรับการจดทะเบียนได้อย่างไร?


กระบวนการการจดทะเบียนประกอบด้วยขั้นตอนสี่ขั้นง่ายๆ ต่อไปนี้:
  • ขอสมัครจดทะเบียนโดยตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ OHSMS
  • NQA จะทำการประเมินมาตรฐาน OHSAS 18001 ซึ่งประกอบด้วยการเยี่ยมชมจากฝ่ายตรวจสอบรับรอง ขั้นต้นสองครั้ง
  • NQA มอบสิทธิ์ในการจดทะเบียนเพื่อให้องค์กรเป็น ผู้ควบคุมมาตรฐานต่อไป การรักษามาตรฐานนั้นทำได้โดยการ เยี่ยมชมประจำปีและทำการตรวจสอบรับรองมาตรฐานใหม่ ทุกๆ สามปี

5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

การกำหนดวัตถุประสงค์

เป็นการนำ เอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัย ได้แล้ว การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง     2. กำหนดแนวทางของการวิจัย

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร