ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Quality Assurance (QA) & Quality Control (QC)

           การดำเนินธุรกิจบริการ เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจในการบริการและใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญอันจะก่อให้เกิดการใช้บริการอย่างต่อเนื่องได้ก็คือ การให้บริการอย่างมีคุณภาพ การที่จะทำให้การบริการขององค์กรสามารถทำได้อย่างมีมาตรฐานและคุณภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบในการควบคุมคุณภาพ (Quality Control-QC) เพื่อสามารถสร้างระบบประกันคุณภาพ(Quality Assurance-QA) อันเป็นพื้นฐานของความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กรของท่านได้
โดยจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากแต่ละแผนก สร้างระบบดังกล่าวร่วมกัน เพื่อให้องค์กรของท่านสามารถทำงานได้อย่างมีระบบ และง่ายต่อการเข้าใจมากที่สุด อันจะส่งผลดีต่อคุณภาพการให้บริการขององค์กร

1. การเลือกหัวข้อที่ใช้ควบคุม (Control Subject) ให้สรุปเป็นคุณลักษณะการให้บริการ เช่น ลูกค้าต้องรออาหารไม่นาน เมื่อกำหนดเป็นคุณลักษณะกระบวนการ (Process Feature) คือ เวลาตั้งแต่รับคำสั่งจนเสิร์ฟอาหารได้ ใช้เวลาไม่นาน (เวลาที่กำหนด)


2. กำหนดตัวชี้วัด คือ การหาวิธีการวัดผลการดำเนินงานจริงของกระบวนการ ซึ่งต้องกำหนดชัดเจนไม่คลุมเครือ บอกถึงความถี่ที่ใช้วัด วิธีการบันทึกผล จากตัวอย่าง ที่แล้ว ตัวชี้วัดคือ เวลา ตั้งแต่รับคำสั่งจนพนักงานเสิร์ฟสามารถเสิร์ฟอาหารให้ลูกค้าได้


3. จัดทำมาตรฐานการทำงาน คือ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานตามคู่มือนี้ และคู่มือนี้จะต้องกำหนดระดับที่เป็นมาตรฐานหรือเป้าหมายของแต่ละหัวข้อควบคุม เช่น พนักงานเสิร์ฟจะต้องเสิร์ฟอาหารให้กับลูกค้าภายใน 15 นาทีหลังจากรับคำสั่ง


4. การตรวจสอบ/วัดผลการทำงาน คือ การวัดผลการทำงานจริงของกระบวนการหรือบริการ โดยสามารถใช้คอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีอื่นๆ เข้ามาช่วยตรวจสอบและเก็บข้อมูลได้ เช่น ใช้ระบบจากเครื่อง PDA เก็บข้อมูลและจับเวลา ในขั้นตอนตั้งแต่การสั่งอาหารจนสามารถเสิร์ฟถึงโต๊ะลูกค้า


5. เปรียบเทียบผลกับมาตรฐาน ทำการเปรียบเทียบผลการทำงานจริงกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาว่าถ้าผลที่ได้ตรงกับมาตรฐานให้ดำเนินงานต่อไป กระบวนการก็จะอยู่ในสภาวะควบคุมได้ซึ่งกระบวนการ QC ก็จะวนรอบตามข้อ 1-5


6. แก้ไข หากเปรียบเทียบกับมาตรฐานแล้ว พบว่ามีข้อที่ไม่ตรงกับมาตรฐาน ก็จำเป็นต้องทำในข้อ 6 คือ การแก้ไข ซึ่งแต่ละแผนกจะต้องมีการกำหนดแนวทางแก้ไขรองรับไว้ล่วงหน้าแล้ว เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทำการแก้ไขตามสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันที

                เมื่อเกิดวงจร QC ในการบริการแล้ว ผู้บริหารระดับกลาง หรือหัวหน้าของปฏิบัติงานในแต่ละกระบวนการ จะมีบทบาทในการดำเนินการทำ QA ในขอบเขตที่ตนเองดูแล เช่น ตรวจสอบระบบ QC ในแต่ละขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลที่ลูกค้าร้องเรียน เพื่อทำการแก้ไขมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจทุกครั้งที่ได้รับบริการเมื่อองค์กรของเราสามารถสร้างระบบ QA ที่แข็งแกร่งได้ จะกลายเป็นจุดขายที่สำคัญที่คู่แข่งยากจะลอกเลียนได้ แต่อย่างไรก็ดีการที่ระบบนี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องได้รับความร่วมมือของพวกท่านในการสร้างสรรค์ มาตรฐานและคุณภาพการให้บริการที่เป็นเลิศให้กับองค์กรของท่าน

5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

การกำหนดวัตถุประสงค์

เป็นการนำ เอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัย ได้แล้ว การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง     2. กำหนดแนวทางของการวิจัย

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร