Hospital Accreditation (HA)
คือ กลไกเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบงานภายในของโรงพยาบาล โดยมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และพัฒนาทั้งองค์กร ทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ มีการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
เรามีมาตรฐาน HA ของเราเอง มาตรฐานฉบับเดิม มี 6 หมวด 20 บทดังนี้
หมวดที่ 1 ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ (ประกอบด้วย 2 บท)
บทที่ 1 การนำองค์กร
บทที่ 2 ทิศทางนโยบาย
หมวดที่ 2 ทรัพยากรและการจัดการทรัพยากร (ประกอบด้วยบทที่ 3 -7)
บทที่ 3 ทรัพยากรและประสานบริการ
บทที่ 4 การพัฒนาบุคลากร
บทที่ 5 สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
บทที่ 6 เครื่องมืออุปกรณ์
บทที่ 7 สารสนเทศโรงพยาบาล
หมวดที่ 3 กระบวนการพัฒนาคุณภาพ (บทที่ 8-10)
บทที่ 8 กระบวนการคุณภาพทั่วไป
บทที่ 9 กระบวนการคุณภาพด้านคลินิก
บทที่ 10 การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
หมวดที่ 4 การรักษามาตรฐานและจริยธรรม (บทที่ 11-12)
บทที่ 11 MSO องค์กรแพทย์
บทที่ 12 NSO การบริหารการพยาบาล
หมวดที่ 5 สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรมองค์กร (บทที่ 13-14)
บทที่ 13 สิทธิผู้ป่วย อิงสิทธิ 10 ประการจาก 4 สถาบันวิชาชีพ (แพทย์ พยาบาล เภสัชกรรม ทันตแพทย์) เจ้าหน้าที่ตระหนักในสิทธิผู้ป่วย
บทที่ 14 จริยธรรมองค์กร การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย สิ่งดีงามที่องค์กรควรทำ
หมวดที่ 6 การดูแลรักษาผู้ป่วย(บทที่ 15-20)
บทที่ 15 การทำงานเป็นทีมในการดูแลผู้ป่วย
บทที่ 16 การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว
บทที่ 17 การประเมินและวางแผนการดูแล
บทที่ 18 กระบวนการบริการ/การดูแลรักษา
บทที่ 19 การบันทึกเวชระเบียน
บทที่ 20 การวางแผนจำหน่าย
ซึ่งในมาตรฐาน HA ได้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ รพ. โดยเราได้พัฒนามาตรฐานฉบับใหม่ ชื่อว่าฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี โดยบูรณาการ HAHPH TQA MBNQA ไว้ด้วยกัน
เกิดมาตรฐานใหม่ที่ประกอบด้วย 4 part ดังนี้ รายละเอียด หาดูเพิ่มเติมได้ที่ www.ha.or.th
การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate) ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก