ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Game Theory (ทฤษฎีเกม) สู่ภาพยนต์ A Beautiful mind (ปี ค.ส. 2001, พ.ศ. 2544)


            จากภาพยนต์ A Beautiful mind แนวคิดของ John Nash (นำเเสดงโดย Russel crow) เราจะได้เห็นถึงความคิดของแนชที่คิดว่าการเจรจาต่อรองที่ทำให้ทั้งสองฝ่าย(คู่กรณี หรือ คู่ความ คู่แข่งขัน) นั้นสามารถเกิดผลที่ทำให้ทุกฝ่ายนั้นได้รับชับชนะได้ เเละสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง ดังนั้น จึงเกิดเป็นแนวคิด/ทฤษฎีนี้ขึ้นมา

       ซึ่งแนวคิด/ทฤษฏีนี้ เกิดขึ้นจากฉากๆหนึ่งที่แนชนั้นได้พูดคุยกับบรรดาเพื่อนๆในบาร์แห่งหนึ่งที่ได้มีสาวสวยผมบลอนด์นางหนึ่งโผล่ขึ้นมาในฉากๆนั้น แนชพูดว่า

                "ถ้าเราแย่งกันจีบสาวผมบลอนด์เราก็จะขัดขากันเองเเละไม่มีใครได้เธอไป แล้วถ้าเราหันไปจีบเพื่อนๆของเธอสาวๆเหล่านั้นก็จะเชิดใส่เพราะไม่มีใครอยากเป็นตัวสำรองของใคร 

            แต่ถ้าไม่มีใครจีบสาวผมบลอนด์นั่นก็จะเป็นการไม่ไปดูถูกสาวอื่นๆด้วยเเละเรา (ผู้แข่งขัน)ก็ไม่ขัดขากันเองเราทุกคนก็จะชนะ (ในที่นี้ผลลัพธ์หมายถึงการได้สาวไปครอบครองเพื่อขึ้นเตียง)"


     ในเนื้อหาท่อนที่แนชกล่าวนั้น ก่อให้เกิดเเนวคิดในการหาแนวทางให้ทุกฝ่ายนั้นได้รับชัยชนะโดยที่ไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบฝ่ายใด ถ้าทุกฝ่ายต้องการเพียงแค่ผลลัพธ์ที่มิได้เจาะจงถึงที่มาของผลลัพธ์นั้นๆ ด้วยเหตุนี้เส้นทางของผลลัพธ์นั้นจึงมีความสำคัญน้อยกว่า ผล ที่ได้รับนั่นเอง


  ถ้าเปรียบได้กับการสงครามที่ในหลายๆสมรภูมินั้นต้องการเพียงแค่ผลลัพธ์ให้ได้มาซึ่งชัยชนะ เเต่มิได้คำนึงถึงผลของความสูญเสียหรือผลกระทบระหว่างเส้นทางของการได้รับชัยชนะนั้น  นั่นเท่ากับว่า การประลองศึกนั้นย่อมมีโอกาศเพลี่ยงพล้ำที่ส่งผลต่อความพ่ายแพ้ก็เป็นได้นั่นเองเพราะการคิดถึงผลลัพธ์มากเกินไป กลับทำให้พลาดโอกาสในการพลิกสถานการณ์ในบางช่วงจังหวะที่อาจจะก่อให้เกิดผลที่เปลี่ยนแปลง ผล ของสงครามนั้นๆได้


    แต่ถ้า การศึกนั้นไม่ได้ต้องการให้เกิดความสูญเสียทางไพร่พลนั้น ดังเช่นยุคของสงครามเย็นระหว่างรัสเซียกับอเมริกาหรือเกาหลีเหนือ เเละเกาหลีใต้ หรือ ไทยกับ กัมพูชา ความสูญเสียของไพร่พลจึงนับว่ามีค่าเป็นศูนย์ไปในทันที

  เพราะสิ่งที่จะเกิดความสูญเสียนั้นกลับกลายเป็นความสูญเสียในเชิงของการชิงความได้เปรียบทางการฑูตเเละข้อมูลข่าวสารการชิงไหวพริบของผู้นำประเทศคู่พิพาทนั้นๆเสียมากกว่าการชิงความได้เปรียบทางข้อมูลข่าวสารบิดเบือนข้อมูลเพื่อให้คู่แข่งนั้นเกิดการประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด ทำให้คู่เเข่งเสียเวลาในการคัดกรองข่าวสารนั้นหรือเกิดการปั่นหัวของผู้คนในประเทศนั้นๆก่อให้เกิดการปฏิวัติหรือก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ทำให้ฝ่ายที่ลงมือปฏิบัติก่อนเกิดความได้เปรียบเพราะสามารถสร้างความปั่นป่วนให้กับคู่แข่งหรือคู่ต่อสู้ได้ไม่มากก็น้อย 

    ดังนั้น จึงได้มี ทฤษฎี H.M.L เพื่อใช้ในการเจรจาต่อรอง เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับสนับสนุนในการตั้งค่าของการเจรจาต่อรองเพื่อลดทอนการสูญเสียของตนให้มากที่สุด
      การเจรจาต่อรอง หมายถึง กระบวนการในการที่จะให้คู่เจรจาเดินทางเข้าหากันเพื่อมุ่งเป้าหมายก็คือข้อยุติที่มีผลประโยชน์ร่วมกันเป็นเดิมพัน กระบวนการในการเจรจาดังกล่าวเรียกว่า “Negotiating Continuum”
      ในการเจรจานั้นคู่เจรจาแต่ละฝ่ายจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของตนเองในการเจรจา เป้าหมายในการเจรจานั้นมี ระดับ เป้าหมายดังกล่าวเราเรียกว่า 


“ ทฤษฎี H.M.L.”


          “H” (High) เป้าหมายระดับสูง หมายถึง เป้าหมายที่คู่เจรจาต้องการบรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ บรรลุ 100% ถือได้ว่าเป็นเป้าหมายอุดมคติ (Ideal Position)  เป้าหมายดังกล่าวเป็นเป้าหมายที่คู่เจรจาอยากจะให้เกิดขึ้นสูงสุด

          “M” (Medium) เป้าหมายระดับกลาง หมายถึง เป้าหมายที่คู่เจรจาต้องการบรรลุเป้าหมายระดับ 75 %

          “L”(Low)  เป้าหมายระดับต่ำสุด หมายถึง   เป้าหมายที่คู่เจรจาต้องการจะได้อย่างน้อย     50 % เราเรียกระดับนี้ว่าระดับที่เป็นขอบเขตจำกัด (Limit Position)  ในการเจรจาถ้าต่ำกว่าระดับนี้คู่เจรจาจะเสียมากกว่าได้ซึ่งเกินขอบเขตที่เขาจะยอมเจรจาด้วย
        แต่ ข้อจำกัดในการเจรจาหรือขอบเขตเจรจา อาจจะหมายถึง ข้อจำกัดในเรื่องของอำนาจ ถ้าเกินจากจุดนี้แล้วเขาไม่มีอำนาจในการเจรจาก็อาจจะทำให้การเจรจาไม่ประสบผลสำเร็จ หรืออาจจะเป็นข้อจำกัดในแง่เงื่อนไขทางด้านราคา ถ้าเกินราคาระดับใดระดับหนึ่งไปเขาไม่สามารถที่จะต่อรองด้วย หรืออาจจะหมายถึงข้อจำกัดในแง่จำนวนในการที่จะตกลงกันถ้าต่ำกว่าจำนวนนี้ไม่สามารถรับได้ ข้อจำกัดดังกล่าวนั้นจะเป็นปัญหาที่จะทำให้การเจรจาไม่สามารถประสบความสำเร็จเนื่องจากว่าเกินขีดที่เรียกว่า ต้นทุน” เพราะถ้าต่ำกว่าระดับนี้หมายความว่าคู่เจรจาจะเป็นผู้เสีย (Loser) และไม่ใช่ผู้ได้ (Winner) ซึ่งจะนำไปสู่การเจรจาที่ไม่ประสบความสำเร็จ
           ในการเจรจาที่จะประสบความสำเร็จได้นั้น หมายความว่า คู่เจรจาสามารถที่จะหาจุดร่วมที่เป็นประโยชน์ต่อกัน ถ้าพิจารณาจากทฤษฎี H.M.L. ก็หมายถึงจุดต่ำสุด(Low) ของทั้งสองฝ่ายต้องมีความคาบเกี่ยวกัน เราเรียกว่า บริเวณที่หาข้อยุติได้” (Bargaining Arena) ซึ่งหมายถึงบริเวณที่คู่เจรจาต่างก็ได้ด้วยกันทั้งคู่ (WIN – WIN) ส่วนใครจะได้มากหรือได้น้อย ย่อมขึ้นอยู่กับอำนาจต่อรองและความชำนาญในการเจรจาต่อรอง
         ดังนั้น ผู้ใช้ทฤษฏีเกมส์เพื่อการต่อรองหรือประเมินคู่แข่งนั้นย่อมจะต้องมีเป้าหมายในใจ หรือที่เราๆเข้าใจกันได้ว่า "ยุทธศาสตร์" ซึ่งหลายๆครั้ง หรือทุกครั้งเป้าหมายที่เรียกว่ายุทธศาสตร์นี้ จะต้องถูกร่างไว้เพื่อเป็นกรอบของการต่อรองในใจของแต่ละฝ่ายว่าจะรับความสูฐเสียได้ในระดับมากแค่ไหน (High Medium หรือ low) นั้นคือเป้าที่ถูกกำหนดไว้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง เพื่อให้เกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุดที่จะรับได้
        ด้วยเหตุนี้ ความสูญเสียจากการเเข่งขันนั้นย่อมเกิดขึ้นได้กับทุกผู้เเข่งขัน แต่ความสูญเสียนั้นสามารถระงับหรือบรรเทาได้จากความรอบคอบวางแผนหรือการวางหมากที่รู้ทันคู่แข่ง หรือมีข้อมูลเชิงลึกเพียงพอต่อการรองรับความสูญเสียที่จะเกิดจากการแข่งขันได้

5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร

Survey Research หรือ การวิจัยเชิงสำรวจ

เป็นเทคนิคการวิจัยซึ่งรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของประชากรเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุดในการรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้แบบสอบถาม ผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจแสดงถึงเทคนิคการออกแบบพื้นฐาน 4 ประการ ที่ใช้ใน การวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงเหตุผล ดังวิธีการ ดังนี้ 1. การสำรวจ ( Survey) 2. การทดลอง ( Experiments) 3. การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือข้อมูลประวัติศาสตร์ ( Historical data) 4. การสังเกต ( Observation techniques) การเขียนแบบสอบถามการกำหนดรายการของคำถามการออกแบบคำถามที่มีการจัดพิมพ์หรือเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นลักษณะของการพัฒนาการออกแบบงานวิจัยเชิงสำรวจการวิจัยเชิงสำรวจอาจใช้โทรศัพท์ จดหมาย หรือใช้บุคคลสัมภาษณ์ก็ได้ การทดลอง ( Experiments) การทดลองจะใช้มากในการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล( Cause-and-effect relationships)   การทดลองเป็นการสำรวจการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรหนึ่ง หรือหลายตัวแปรเพื่อวัดผลกระทบต่อตัวแปรตาม เช่น การวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการออกจากงาน การขาดงานหรือการมาสาย การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ( Secondary data study) หรือ ข้อมูลประวัติศาสต