แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย
ต้องเป็นปัญหาที่มีผู้ต้องการแก้ไขที่หลากหลาย ไม่ใช่ปัญหาที่ผู้ทำวิจัยสนใจอยากจะแก้เพียงคนเดียว
อาทิเช่น การมองเห็นปัญหาแบบมหภาค หรือปัญหาใหญ่ ณ ช่วงเวลานั้นๆ เช่น ปัญหาระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระดับองค์กรหลักๆของสังคม
แสดงปัญหาที่จะศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ควรจะต้องเป็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะจะเป็นข้อได้เปรียบในการตั้งปัญหาของการวิจัย เเละเป็นเรื่องที่มีความใหม่ น่าสนใจ ดึงดูดความสนใจต่อคณะกรรมการสอบหัวข้อ
อาทิเช่น ปัญหาที่กระทบต่อสายวิชา สายอาชีพของผู้ทำวิจัย เช่น ปัญหาในระดับจุลภาคที่ใกล้ตัว หรือที่อาจจะเกิดเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ เป็นต้น
มีข้อมูลสถิติหรือผลการวิจัยสนับสนุนเพื่อให้เห็นปัญหาอย่างชัดเจน
กล่าวง่ายๆคือ ต้องมีหลักฐานหรือที่มาของข้อมูลอย่างเพียงพอ รอบด้าน รู้จริง ไม่ใช่ยกมาจากหนังสือ บทความเพียงเท่านั้น
อาทิเช่น การกล่าวโดยบุคคลที่มีชื่อเสียงเเละมีความสำคัญต่อด้านที่เกิดปัญหานั้นๆจากสื่อประเภทต่างๆ ทั้ง
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) เช่น บุคคลในพื้นที่่ที่ต้องการจะศึกษา หรือบุคคลที่ได้รับผลกระทบจ่ากสิ่งนั้นๆ
เเละ
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) เช่น บทสัมภาษณ์ บทความ วารสาร งานวิจัย หรือแกะบทสัมภาษณ์จากงานวิจัยอื่นๆ เป็นต้น
สรุป
ระดับของปัญหาที่ก่อให้เกิดประเด็นในการวิจัย ไล่เรียงตั้งแต่ปัญหาในระดับสากล ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับองค์กร/หน่วยงาน เเละระดับบุคคลหรือตนเอง
ซึ่ง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องเป็นเรื่องที่อยู่บนกระแสของโลก ณ ขณะนั้นๆ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น ปรากฏการณ์ (Phenomenal) ในเรื่องนั้นๆก็ได้
ทั้งนี้ จะต้องมีบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลกระทบ สังคมหรือชุมชนที่ได้รัยผลกระทบต่อเหตุการณ์นั้นให้นิยาม ให้ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ บันทึกภาพหรือเสียง หรือบทความผ่านบทควงาม งานวิจัย หรือสื่ออื่นๆก็ได้ เป็นต้น
.............................................................................................................
.............................................................................................................