ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Variable หรือ การกำหนดตัวแปร

ตัวแปร (Variable) หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนค่าไปได้หลายค่าเป็นลักษณะคุณภาพคุณสมบัติของบุคคล/สิ่งของหรือสิ่งที่สนใจจะนำมาศึกษาที่สามารถนับได้ วัดได้ หรือหมายถึง สิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตามระยะเวลา แปรเปลี่ยนได้หลายค่า หรือมากกว่า 1


ลักษณะเช่น
เชื้อชาติ แปรค่าได้เป็น ไทย , จีน , ….
อายุ แปรค่าได้เป็น 1,2,3,……
ระดับความวิตกกังวล แปรค่าได้เป็น ต่ำ, ปานกลาง, สูง 

ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ไป เช่น งานวิจัยเรื่อง

ตัวแปรภายนอก หรือตัวแปรแทรกซ้อน (extraneous variable) หมายถึง ตัวแปรอื่น ๆ 

ตัวแปรต้นหลายตัว และตัวแปรตามตัวเดียว
ระดับช่วงมาตรา (interval scale) เป็นระดับการวัดของตัวแปรที่สูงขึ้นมาจาก 2 ระดับที่กล่าวมาแล้ว คือสามารถวัดรายละเอียดของคุณลักษณะที่แตกต่างกันของตัวแปรออกมาเป็นค่าตัวเลข และตัวเลขนั้นมี คุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ คือ บวก ลบ คูณ หาร ได้ มีคุณสมบัติที่ระบุความแตกต่างได้ว่า มากกว่า หรือ น้อยกว่าเป็นเท่าไร โดยคุณสมบัติพิเศษคือ ค่าของเลขศูนย์เป็นค่าที่กำหนดขึ้น ไม่ได้เป็นค่าศูนย์ที่แท้จริง (relative zero) ยกตัวอย่างเช่น

ระดับอัตราส่วน (ratio scale) ถือเป็นการวัดระดับตัวแปรที่สูงที่สุด มีคุณสมบัติครอบคลุมระดับการวัดใน 3 ระดับ สามารถวัดออกมาได้เป็นค่าตัวเลขซึ่งมีคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ทุกประการ และนอกจากนี้ค่าของเลขศูนย์ เป็นค่าศูนย์ที่แท้จริง (absolute zero) คือหมายถึงไม่มีเลย 

ชนิดของตัวแปร
แบบที่ 1 แบ่งเป็นตัวแปรต่อเนื่อง และตัวแปรไม่ต่อเนื่อง
ตัวแปรต่อเนื่อง (continuous variable) หมายถึง ตัวแปรที่มีคุณลักษณะ หรือ คุณสมบัติที่ต่อเนื่องกันระหว่างตัวแปรหนึ่งไปอีกตัวแปรหนึ่ง ไม่สามารถแยกจากกันอย่างเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และความรู้ ซึ่งมีค่าเป็นตัวเลขที่ต่อเนื่องกันไม่สามารถแยกจากกันได้
ตัวแปรขาดตอน หรือตัวแปรไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variable) หมายถึง ตัวแปรที่มีคุณลักษณะ หรือคุณสมบัติแยกจากกันอย่างเด็ดขาดระหว่างตัวแปรหนึ่งไปยังตัวแปรอีกตัว หนึ่ง และแต่ละตัวแปรไม่สามารถแยกออกเป็นเศษส่วนได้ต้องมีจำนวนเต็มเสมอ ตัวอย่างเช่น เพศ (ชาย หญิง) ศาสนา (พุทธ คริสต์ อิสลาม) จำนวนบุตร (1, 2, 3)

แบบที่ 2 แบ่งเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรแทรกซ้อน
ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป
เช่น งานวิจัยเรื่อง ผลของน้ำผึ้งในการรักษาแผลเบาหวาน ตัวแปรต้น คือ น้ำผึ้ง
ตัวแปรต้น คือ
-          เป็นตัวแปรเหตุ
-          เป็นตัวแปรที่มาก่อน
-          เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง
-          มีลักษณะเป็นตัวทำนาย
-          เป็นตัวกระตุ้น
-          มีความคงทน ถาวร

ซึ่ง ผลของน้ำผึ้งในการรักษาแผลเบาหวาน ตัวแปรตาม คือ การหายของแผล
และตัวแปรตาม คือ
-          เป็นตัวแปรที่เป็นผล
-          เกิดขึ้นภายหลัง
-          เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง
-          เป็นตัวถูกทำนาย
-          เป็นตัวตอบสนอง
-          เปลี่ยนแปลงได้ง่าย

นอกเหนือจากตัวแปรต้น ที่มีผลต่อตัวแปรตาม ซึ่งตัวแปรแทรกซ้อนนี้นักวิจัยต้องพยายามควบคุม หรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรภายนอกให้หมดไป หรือให้เหลือน้อยที่สุด
เช่น งานวิจัยเรื่อง ผลของน้ำผึ้งในการรักษาแผลเบาหวาน ตัวแปรภายนอกได้แก่ ความลึกของแผล อาหารที่ผู้ป่วย รับประทาน เป็นต้น
จำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
ตัวแปรต้น 1 ตัว และ ตัวแปรตาม 1 ตัว
ตัวอย่าง คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการทำงานกับการเกิดอุบัติเหตุในขณะทำงาน ของ
คนงานโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง

ตัวแปรต้น 1 ตัว และตัวแปรตามหลายตัว
ตัวอย่าง คือ
                                                ผลกระทบของการผ่าตัดทำหมันชายต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และพฤติกรรมทางเพศ
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตายของทารก
ประสิทธิผลของการให้สุขศึกษาในงานสาธารณสุขมูลฐานโดยใช้หอกระจายข่าว
เปรียบเทียบกับที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน

ตัวแปรต้นหลายตัว และตัวแปรตามหลายตัว
ตัวอย่าง คือ
ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และเจตคติของผดุงครรภ์อนามัยกับการให้คำแนะนำ
เรื่อง พฤติกรรมทางเพศสำหรับสตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร

การวัดระดับของตัวแปร
เป็นการกำหนดความละเอียด ความหยาบในการบอกความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติ ของตัวแปรที่อยู่ในหน่วยเดียวกัน การวัดระดับของตัวแปรแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้
1. ระดับนามมาตรา (nominal scale) เป็นระดับที่หยาบที่สุดสามารถบอกความแตกต่างในลักษณะของการแยกกลุ่ม แยกเป็นประเภท หรือแยกเป็นพวกๆ เท่านั้น ไม่ได้บอกถึงความแตกต่างในแง่คุณค่าหรือคุณภาพแต่อย่างใด
ตัวอย่างเช่น
ตัวแปร คุณลักษณะที่แสดงความแตกต่าง อาทิ
เพศ
เชื้อชาติ
ศาสนา
อาชีพ
   สถานภาพสมรส
ภูมิลำเนา
ฐานะเศรษฐกิจ
การศึกษา
บริเวณที่ปวดหัว
อาการของโรค
กลุ่มเลือด ชาย หญิง
     ไทย จีน ฯลฯ
     พุทธ คริสต์ อิสลาม ฯลฯ
     เกษตรกร ข้าราชการ ค้าขาย นักธุรกิจ ฯลฯ
     คู่ โสด หม้าย หย่า แยก
     ชนบท เมือง จังหวัด ฯลฯ
     ดี ไม่ดี
     ไม่มีการศึกษา มีการศึกษา
     ด้านหน้า ด้านหลัง ทั่วหัว ท้ายทอย
     รุนแรง ไม่รุนแรง
     กลุ่มเลือด A B O และ AB

2. ระดับอันดับมาตรา (ordinal scale) เป็นการวัดระดับตัวแปรที่ถือว่ามีคุณลักษณะที่แตกต่างสูงขึ้นมาจากระดับนามมาตราอีกเล็กน้อย นั่นคือ สามารถบอกว่า มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า เลวกว่า สูงกว่า พอใจมากกว่า พอใจน้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่สามารถบอกได้ว่าลักษณะที่ มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า นั้นมีค่าเท่าใด
ยกตัวอย่างเช่น
ตัวแปร คุณลักษณะที่แสดงความแตกต่าง อันดับมาตรา ordinal ลดระดับเป็นนามมาตรา nominal อาทิเช่น
ความคิดเห็น
     ระดับการศึกษา เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
     ไม่เห็นด้วยอย่างมาก
     ไม่มีการศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
     ได้รับการศึกษา ไม่ได้รับการศึกษา

ตัวแปร คุณลักษณะที่แสดงความแตกต่าง ช่วงมาตรา interval ลดระดับเป็นอันดับมาตรา (ordinal) ลดระดับเป็นนามมาตรา (nominal)
ยกตัวอย่างเช่น
อุณหภูมิ
สติปัญญา(IQ)
คะแนนวิชาวิจัย
-10  องศา 0 องศา 1 องศา
50, 80, 100,120 12 , 15 , 25 , 50
ต่ำ ปกติสูง ฉลาดมาก
ปกติ ปัญญาอ่อน อ่อน ปานกลาง ดี ดีมาก
ปกติ เป็นไข้ ปกติ ผิดปกติ ผ่าน ไม่ผ่าน

ตัวแปร คุณลักษณะที่แสดงความแตกต่างอัตราส่วนมาตรา ratio ลดระดับเป็นอันดับมาตรา ordinal ลดระดับเป็นนามมาตรา nominal
ยกตัวอย่างเช่น
อายุ
น้ำหนัก
ระดับคอเลสเตอรอล
1 ปี 2 ปี 5 ปี 13 ปี
10, 20, 35, 57 กิโลกรัม
72, 75, 91, 102
เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ สูงอายุ
น้อย ปกติ มาก
ต่ำ ปกติ สูง เด็ก ผู้ใหญ่
ปกติ ผิดปกติ หรือ
อ้วน ไม่อ้วน
ปกติ ไม่ปกติ

....................................................................



5 อันดับบทความยอดนิยม

Qualitative Research (การวิจัยเชิงคุณภาพ)

การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือ Qualitative Research      เป็นการวิจัยที่ "ต้องการค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ สภาพแวดล้อมตามความเป็นจริง" ซึ่งมีหัวใจหลักคือการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมที่มาจากหลากหลายมิติหรือมุมมอง       จึงทำให้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic Research) ที่มีวัตถุประสงค์ ที่หมายความถึงการที่ปล่อยให้ทุกๆอย่างคงอยู่ตามสภาพตามธรรมชาติโดยปราศจากการกระทำใดๆที่จะส่งกระทบต่อผลลัพธ์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเเละคลาดเคลื่อนได้ (Manipulate)       ทั้งนี้เนื่องจาก "การอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคม (Contextual) ที่ปรากฏการณ์ขึ้นในบางประการนั้นไม่สามารถที่จะทำการอธิบายด้วยเหตุผลแบบธรรมดาได้" นั่นจึงทำให้ การทำวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นผู้วิจัยต้องพยายามทำความเข้าใจใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวเเละนำมาอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมที่ต้องการ      ทำให้ ลักษณะข้อมูลที่นำมาใช้ในการการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) นั้นต้องมีลัก

Quantitative Research (การวิจัยเชิงปริมาณ)

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงเชิงข้อมูล/ตัวเลข มีลักษณะของการวิจัยที่ควบคุมตัวแปรที่ศึกษาเเละใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อทำข้อสรุปให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด (ศาสตราจารย์เกียรติคุณบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ : 2549) วัตถุประสงค์   การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) มีวัตถุประสงค์ที่จะพยายามให้คำอธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามใช้แนวที่เรียกว่า ปฎิฐานนิยม (Positivism) การอธิบายปรากฎการณ์จึงเป็นการนำเสนอเชิงตัวเลข ทางสถิติ เช่น ร้อยละของประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ เป็นต้น ลักษณะของข้อมูล               การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆเพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมี ข้อมูลเชิงปริมาณประกอบด้วย วิธีการเก็บข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research) จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก เพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีห

Participatory Action Research: PAR (การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม)

“ Participatory Action Research: PAR  เป็นการลงพื้นที่วิจัยโดย กลุ่มบุคคลร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชนเเละสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นปัญหาเเละทางแก้ โดยการลงมือปฏิบัติด้วย ตัวเองจนเกิดองค์ความรู้ ส่วนคำว่า เชิงปฏิบัติการ หมายถึง การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย และ คำว่า การมีส่วนร่วม หมายถึง การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง.... Kerlinger ( 1988)   สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ก็คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้เห็นปัญหาของตัวเองและเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหาโดยลงมือปฏิบัติจริงได้ผลจริงแก้ปัญหาได้จริง ซึ่ง “การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่

การกำหนดวัตถุประสงค์

เป็นการนำ เอาแนวความคิดของประเด็นปัญหาวิจัยมาขยายรายละเอียด โดยเรียบเรียงให้เป็นภาษาเขียนที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยจะต้องเป็นการเขียนจากที่กำหนดปัญหาการวิจัย ได้แล้ว การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย หมายถึง แนวทางหรือทิศทางในการค้นหาคำตอบของปัญหา - ในการวิจัยเชิงปริมาณ การเขียนวัตถุประสงค์จะระบุถึงตัวแปรที่ต้องการศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจ คือ ระบุประชากรที่สนใจ ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม - ในการวิจัยเชิงคุณภาพ การเขียนวัตถุประสงค์จะชี้ให้เห็นถึงลักษณะของการ วิจัย ปรากฏการณ์ ธรรมชาติของกลุ่ม ชุมชน หรือ การวิจัยภายใต้สถานการณ์ คำที่ใช้สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์ เช่น เพื่อค้นหา อธิบาย พัฒนา เปรียบเทียบ พิสูจน์ แสดงให้เห็น ฯลฯ ประโยชน์ของการกำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย     1. กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นการกำหนดจุดมุ่งหมายเฉพาะในการศึกษาประเด็นต่างๆ ที่สำคัญของปัญหาว่ามีอะไรบ้าง จะเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและตัวแปรอะไรบ้าง     2. กำหนดแนวทางของการวิจัย

Research and Development หรือ การวิจัยและพัฒนา

เป็นการวิจัยที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพของมนุษย์ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากส่งเสริมให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาโดยเชื่อว่าช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ความหมาย และลักษณะของการวิจัยและพัฒนา การวิจัยและพัฒนา (The Research and Development) เป็นลักษณะหนึ่งของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิต การวิจัยและพัฒนาเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีการพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม (หมายถึงสื่อ/สิ่งประดิษฐ์ หรือวิธีการ) แล้วมีการทดลองใช้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ นวัตกรรมที่นำมาทดลอง คือ ปฏิบัติการ (Treatment) หรือตัวแปรต้น โดยมี “ดัชนีชี้คุณภาพ” ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นตัวแปรตาม การวิจัยและพัฒนาจะให้ผลลัพธ์ที่สำคัญ 2 ลักษณะ 1) นวัตกรรมประเภทวัตถุที่เป็นชิ้นอัน ซึ่งอาจเป็นประเภท วัสดุ/อุปกรณ์/ชิ้นงาน เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ ชุดการสอน สื่อการสอน ชุดกิจกรรม เสริมความรู้ คู่มือประกอบการทำงาน เป็นต้น 2) นวัตกรรมประเภทที่เป็นร